Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

ใยอาหาร..รู้ไว้ได้ประโยชน์

อาหารเเละเลขสารบบอาหาร
อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่ วัตถุทุกชนิดที่เรากิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท และยาเสพติดให้โทษ และ วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสต่างๆ อาหารถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
  1. อาหารควบคุมเฉพาะ : คือ อาหารที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นอาหารที่อยู่ ในความควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐาน ได้แก่ นมดัดแปลงสำหรับทารก และ นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก ,วัตถุเจือปนอาหาร, อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก , อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก, อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก
  2. อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน : ได้แก่ ได้แก่ กาแฟ, เกลือบริโภค, ข้าวเติมวิตามิน, ไข่เยี่ยวม้า, ครีม, ช็อกโกแลต, ชา,ชาสมุนไพร, ซอสบางชนิด, น้ำแข็ง, น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, น้ำปลา, น้ำผึ้ง, น้ำมันถั่วลิสง, น้ำมันเนย, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันและไขมัน, น้ำแร่ธรรมชาติ, น้ำส้มสายชู, เนย, เนยแข็ง, เนยเทียม, เนยใสหรือกี, ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลือง, แยม เยลลี่ มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, อาหารกึ่งสำเร็จรูป, น้ำเกลือปรุงรสอาหาร, นมโค, นมปรุงแต่ง, นมเปรี้ยว, ผลิตภัณฑ์ ของนม, ไอศกรีม, เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, เครื่องดื่มเกลือแร่, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี่
  3. อาหารที่ต้องมีฉลาก : ได้แก่ ขนมปัง, ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, แป้งข้าวกล้อง, ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์, วัตถุแต่งกลิ่นรส, วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่, หมากฝรั่งและลูกอม, อาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที, อาหารฉายรังสี, อาหารทั่วไปที่เป็นอาหารดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม
  4. อาหารทั่วไป : ได้แก่ อาหารนอกเหนือจากอาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ ต้องมีฉลาก เช่น พืชและผลิตภัณฑ์, สัตว์และผลิตภัณฑ์, สารสกัด/สารสังเคราะห์ จากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบ, สารอาหาร, แป้งและผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์สำหรับทำอาหารชนิดต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมบริโภค, เครื่องปรุงรส, น้ำตาล, เครื่องเทศ เป็นต้น
อาหารที่จำเป็นต้องขออนุญาตเลขผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ / อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน / อาหารที่ต้องมีฉลาก ส่วนอาหารประเภททั่วไปนั้น จะขอหรือไม่ขอเลขผลิตภัณฑ์อาหารก็ได้ แต่ถ้าหากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงานก็จะต้องขออนุญาตด้วย
เลขสารบบอาหาร หมายถึง ตัวเลข 13 หลักที่ได้รับอนุญาตในส่วนของสถานที่และผลิตภัณฑ์อาหาร
เลขสารบบอาหาร 13 หลัก ประกอบไปด้วย เลขสถานที่ประกอบการ 8 หลักแรก XX-X-XXXXX และ เลขผลิตภัณฑ์อาหาร 5 หลักหลัง Y-YYYY
การขอเลขสถานที่ประกอบการ 8 หลัก : ประกอบไปด้วย เลขจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิต, สถานะของหน่วยงานที่ขออนุญาต, เลขประจำสถานที่ผลิต, เลขท้ายของปีพ.ศ.ที่อนุญาต
การขอเลขสถานที่ประกอบการ
ต้องเริ่มจากการดูว่าสถานที่ประกอบการเข้าข่ายโรงงานหรือไม่ ? :
โรงงาน ตาม พรบ. โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้ระบุไว้ว่า อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวม ตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าสิบแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามเพื่อประกอบกิจการโรงงาน ถือว่า เข้าข่ายโรงงาน
หากเข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอใบอนุญาต อ.2 / หากไม่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอใบอนุญาต สบ. 1 (ไม่เข้าข่ายโรงงาน) สำหรับผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องขออนุญาต ได้แก่
  1. ผู้ผลิตที่ไม่เข้าข่ายโรงงานที่ผลิตอาหาร
  2. ผู้ที่ผลิตและจำหน่ายเฉพาะหน้าร้าน ตัวอย่างเช่น ร้านขา่ยข้าวแกง เป็นต้น
  3. ผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออกเท่านั้น (ต้องขอเลขสถานที่ประกอบการแต่ไม่ต้องขอเลขสารบบ)
  4. ผู้จำหน่ายอาหาร
  5. ผู้ว่าจ้างผลิต (ผู้ผลิตต้องยื่นคำขออนุญาต)
  6. การโฆษณาที่ให้ข้อมูล ภาพ เสียง ข้อความ สัญลักษณ์หรือลักษณะอื่นใด
หลังจากดูว่าสถานที่ประกอบการเข้าข่ายโรงงานหรือไม่ และยื่นขอใบอนุญาตแล้ว จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการตรวจประเมินสถานที่ผลิตโดยสาธารณสุขจังหวัดหรือ อย. หากผ่านการตรวจประเมินสถานประกอบการแล้ว ทางผู้ประกอบการก็จะได้ เลขสถานประกอบการ 8 หลักแรก ของเลขสารบบมา หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการขอเลขผลิตภัณฑ์อาหาร
การขอเลขผลิตภัณฑ์อาหาร 5 หลัก : ประกอบไปด้วย หน่วยงานที่อนุญาตผลิตภัณฑ์, เลขลำดับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการอนุญาต
การขอเลขผลิตภัณฑ์อาหาร
ต้องเริ่มจากการดูว่าผลิตภัณฑ์ของท่านจำเป็นต้องขอเลข อย. หรือไม่ ? :
หากผลิตภัณฑ์ของท่านอยู่ในอาหารประเภท อาคารควบคุมเฉพาะ / อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน / อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหาร 3 ประเภทนี้จำเป็นต้องขอเลขผลิตภัณฑ์อาหาร หากอยู่ในประเภท อาหารทั่วไป ท่านจะขอหรือไม่ขอก็ได้แต่ถ้าหากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงานก็จะต้องขออนุญาตด้วย
จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการขอเลขผลิตภัณฑ์อาหารโดยการยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องยื่นตามจำนวนผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการขอ
หลังจากได้รับ เลขผลิตภัณฑ์อาหาร 5 หลักแล้ว เราจะเอามารวมกันกับ เลขสถานที่ประกอบการ 8 หลักแรก ทำให้ได้เลขสารบบอาหาร 13 หลัก เพื่อใช้งานต่อไปได้เลย
อ้างอิงข้อมูลจาก :
http://www.fda.moph.go.th/Shared%20Documents/คู่มือประชาชน/รวมสำนักอาหารและสำนักด่าน.pdf

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...