Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • Communication
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

Chocolate 101 : ไขข้อข้องใจทำไมกินช็อกโกแลตแล้วอารมณ์ดี และ ก้าวต่อไปของช็อกโกแลตไทย (Ep.02)




Q : เคยได้ยินว่าถ้าเราเหนื่อย อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิด ให้เรากินช็อกโกแลต กินโกโก้ ตรงนี้มันมีผลยังไงกับเรา

A : 1) มันมีน้ำตาลที่เวลาที่เรากินเข้าไปแล้วจะทำให้เรารู้สึกดี

    2) เวลาที่เรากินช็อกโกแลตเข้าไปแล้ว จะทำให้เราสดชื่น หลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่า เซโรโทนิน ออกมาซึ่งจะทำให้เราอารมณ์ดีและลดความเครียดลง

 

Q : ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดขาย หรือจุดแข็งของโกโก้ ช็อกโกแลตหรือไม่

A : ใช่ แต่เราอย่าไปคิดว่าเราจะกินหรือซื้อขายช็อกโกแลตทุกเทศกาลได้ เหมือนชาติตะวันตก เพราะว่าเขาสามารถกินซ้ำได้  แต่คนไทยจะมีนิสัยการกินที่แตกต่างจากชาติอื่น เพราะว่า คนไทย มีของกินที่หลากหลายและมีนิสัยไม่กินซ้ำ  เราเป็นประเทศที่มีการบริโภคช็อกโกแลตต่ำเกือบที่สุดของโลก  ถ้าถามว่าสนับสนุนไหมที่ให้ทำธุรกิจทางด้านช็อกโกแลต ก็ไม่สนับสนุนในลักษณะที่ทำเป็นวัตถุดิบเพื่อการส่งออก เช่น ปลูกโกโก้เพื่อสกัดเป็นเนยโกโก้ส่งออกเป็นวัตถุดิบจะประสบความสำเร็จยากเพราะว่าจะต้องปลูกปริมาณที่เยอะมากพอที่จะจัดหาเพื่อการส่งออกและต้องมีปริมาณที่แน่นอนและตลาดถูกคุมด้วยผู้ซื้อรายใหญ่ไม่กี่ราย  อย่างที่สอง คือราคาของโกโก้ในตลาดโลกไม่ได้มีมูลค่าสูง เมื่อเทียบกับตัวเมล็ดกาแฟแล้ว ปลูกกาแฟคุ้มค่ากว่า  รูปแบบที่จะทำแล้วคุ้มก็คือกลุ่มที่ทำเป็น Craft Chocolate จะมีตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Marketing) ที่จะสามารถดำเนินการได้ แต่หากจะไปผลิตเป็นแบบโรงงานใหญ่หรือทำเป็น Mass Production เหมือนที่ในต่างประเทศทำอันนี้จะเป็นไปได้ยาก 

 

Q : ตอนนี้ในประเทศไทยเริ่มหันมาปลูกโกโก้เพิ่มขึ้น มีการบ่ม มีการทำผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจว่าในมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน

A : เท่าที่ทราบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวิชาสอนด้านนี้ แต่ถ้าจะส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจไหมก็คิดว่ามีความเสี่ยงเนื่องจากตลาดอยู่ในมือผู้ซื้อรายใหญ่เกษตรกรอาจจะไม่ได้ร่ำรวย คนที่เป็นผู้แปรรูปโกโก้และช็อกโกแลตต่างหากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะเพิ่มมูลค่าและราคาได้   อีกส่วนหนึ่งก็คือ โกโก้ เป็นพืชที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการปลูกกว่าจะออกผล และถ้าหากเกิดโรคก็จะควบคุมยากเมือเกิดโรคบางแห่งต้องโค่นทิ้งทั้งสวนเลย

 

Q : คิดว่าอนาคตอุตสาหกรรมช็อกโกแลตของไทยควรจะไปในทิศทางใด เพื่อให้อุตสาหกรรมช็อกโกแลตไทยเข้มแข็งขึ้นได้

A : ก็จะเป็นการทำในลักษณะ Craft Chocolate ขายในราคาสูงกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศ กลุ่มที่ให้ความสนใจเฉพาะกลุ่ม แต่ไม่สนับสนุนให้ผลิตโกโก้เพื่อการส่งออกเป็นวัตถุดิบเพราะจะต้องใช้ปริมาณมากและต้องมีผลผลิตที่แน่นอน


Q : อาจารย์ชอบกินช็อกโกแลตชนิดใดมากที่สุด

A : ดาร์คช็อกโกแลต  แนะนำให้คนที่ต้องการประโยชน์จากการกินช็อกโกแลต เลือกกินโกโก้ผง ที่นำมาชงเป็นเครื่องดื่ม เพราะเราควบคุมปริมาณน้ำตาลและไขมันที่จะเติมลงไปได้ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพที่สุด


PR NEWS


  • อัปเดตกฎหมายและระบบมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร March 13, 2023

  • Food Science Food Talk March 21, 2023

  • Chocolate 101 : แหล่งที่มาและอนาคตช็อกโกแลตไทย (Ep.05) February 27, 2023

  • Chocolate 101 : ชนิดของช็อกโกแลต (Ep.04) February 24, 2023

  • Chocolate 101 : 8 ขั้นตอน การผลิตช็อกโกแลต (Ep.03) February 22, 2023

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • ห้อง 722 อาคารอมรภูมิรัตน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

    02 9428 528 | 08 3908 0797

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT

Please wait...