Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

ทุเรียน ราชาสีเหลืองทองของดีประเทศไทย

    


    ทุเรียน (Durio zibethinus L.) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน  แต่ละสายพันธุ์ มีสี รสชาติ เนื้อสัมผัส กลิ่น และ ขนาดที่แตกต่างกัน ย่อมมีคุณค่าทางอาหารที่แตกต่างกันด้วย  ทุเรียนถือว่าเป็นราชาผลไม้ของไทย ลักษณะของผลทุเรียนมีความโดดเด่นด้วยหนามแข็งที่ปกคลุมเนื้อสีเหลืองนวล ไปจนถึงสีแดง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ทุเรียนมีมากกว่า 30 ชนิด แต่มีเพียง 9 ชนิดเท่านั้นที่สามารถรับประทานได้ ได้แก่  Durio zibethinus, Durio dulcis, Durio grandiflorus, Durio graveolens, Durio kutejensis, Durio lowianus, Durio macrantha, Durio oxleyanus และ Durio testudinarum 

    อย่างไรก็ตาม มีเพียงสายพันธุ์ Durio zibethinus ชนิดเดียวเท่านั้นที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และสายพันธุ์นี้ ยังสามารถแบ่งแยกย่อยไปอีกมากกว่า 200 ชนิด โดยสายพันธุ์ที่เรารู้จักกันดีและปลูกกันมากก็คือ หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง กบ นกกระจิบ หลง-หลินลับแล และพันธุ์ก้านยาว เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการเกษตร ทำให้ทุเรียนออกผลได้เกือบตลอดปี แต่ทุเรียนจะมีคุณภาพดีที่สุดในช่วงฤดูร้อน ทุเรียนนั้นสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่าม  นอกจากนี้ยังนำไปใช้ทำอาหารได้หลายอย่างทั้งคาวและหวาน เมล็ดทุเรียนก็รับประทานได้แต่ต้องทำให้สุกก่อน 

    *ทุเรียนจัดว่า เป็นผลไม้รสหวาน เผ็ด มีฤทธิ์ร้อน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ*
    ทุเรียนพันธุ์หมอนทองสามารถช่วยลดระดับไขมันหรือคอเลสเตอรอลได้ เพราะมีสารโพลีฟีนอล (Pholyphenols) และมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันได้ แต่ว่าต้องรับประทานแค่ 1 พูต่อวัน เนื่องจาก  ทุเรียนมีปริมาณน้ำตาลและไขมันสูง   ดังนั้นการบริโภคมากๆ จึงให้โทษมากกว่าประโยชน์  ทุเรียนมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง การบริโภคทุเรียนในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันการเกิดโรคในมนุษย์ได้ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น แม้ทุเรียนจะมีไขมันมากก็ตาม แต่ก็เป็นไขมันชนิดดีที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย เส้นใยของทุเรียนมีส่วนช่วยในการขับถ่ายให้สะดวกยิ่งขึ้น เปลือกทุเรียนสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการรมควันอาหารและสามารถนำมาผลิตกระดาษได้   ในประเทศอินโดนีเซียมีการนำดอกทุเรียนมารับประทานได้ด้วย
  
    คุณค่าทางโภชนาการ : ของเนื้อทุเรียนต่อ 100 กรัม พลังงาน 174 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม เส้นใย 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ 44 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.374 มิลลิกรัม 33% วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม 17% วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม 7% วิตามินบี 5 0.23 มิลลิกรัม 5% วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม 24% วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม 9% วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม 24% ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม 1% ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม 3% ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม 8% ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม 15% ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6% ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม 9% ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0% ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม 3% % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
 
    โทษของทุเรียน : เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและยังอุดมไปด้วยไปด้วยไขมันและกำมะถัน ผลไม้ชนิดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะหากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดร้อนใน  เป็นแผลในปาก และท้องผูกอีกด้วย สำหรับบุคคลที่ควรบริโภคทุเรียนแต่น้อย ได้แก่ ผู้ที่มีดันโลหิตสูง  ผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคไต  หลอดเลือดหัวใจตีบ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด ไม่ควรรับประทานทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะเร่งการดูซึมน้ำตาลและกำมะถันในทุเรียนเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอันตรายได้

    หลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียนกับผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงและมีฤทธิ์ร้อน ชนิดอื่นๆ เช่น ขนุน ลำไย เมื่อรับประทานทุเรียน ควรลดอาหารกลุ่มข้าว แป้ง น้ำตาล คาร์โบไฮเดรต อาหารหวานจัด อาหารไขมันสูง อาหารมันจัด เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานเกินกว่าที่ต้องการในแต่ละวัน ทุเรียนไทย เป็นผลไม้ที่มีสาระสำคัญซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  จึงควรส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างครบถ้วน ว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพได้อย่างไรบ้าง

ข้อมูลอ้างอิง (Source) https://medthai.com/%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99/

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...