Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก…ที่กินได้


เรียบเรียงโดย : ดร. ยุวเรศ มลิลา
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

       จะดีแค่ไหน ถ้าซองกาแฟ หรือซองเครื่องปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเครื่องปรุงต่างๆ จะละลายได้ในน้ำร้อน ทั้งสะดวก และช่วยลดการเกิดขยะที่จัดการได้ยากอีกด้วย แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์พวกนี้ละลายน้ำง่าย แล้วเวลาใช้ใส่อาหาร มันจะชื้นและละลายไปก่อนรึเปล่านะ แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์ทนความชื้นมากไป แล้วเมื่อไหร่จะละลาย เมื่อไหร่จะได้กินกันล่ะ

     บรรจุภัณฑ์กินได้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ก็เช่น “Ooho !” น้ำดื่มที่บรรจุในแคปซูลที่ทำจากสารสกัดสาหร่ายสีน้ำตาล (Notpla Technology) ที่เป็นน้ำดื่มที่แจกให้กับนักวิ่งมาราธอนในงาน London Marathon 2019  ตัวแคปซูลจะกินเข้าไปก็ได้ หรือถ้าไม่กิน ตัวแคปซูลก็สามารถย่อยสลายได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ [1] แต่จากเทรนด์ของโลกที่จำเป็นต้องสร้าง “ความยั่งยืน” (sustainability) ความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย [2] ถือเป็นโอกาสของงานวิจัยและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์กันเลยทีเดียว

             สำหรับงานวิจัยที่อยากมาเล่าให้ฟังในครั้งนี้ เป็นผลงานจากคณะวิจัยภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร LWT- Food Science and Technology เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 (Janjarasskul et al., 2020) พัฒนาฟิล์มที่รับประทานได้ (edible film) เตรียมจาก whey protein isolate (WPI) โดยใช้กลีเซอรอล (glycerol) เป็นพลาสติไซเซอร์ (plasticizer) ปรับสมบัติเชิงกลของฟิล์มให้ขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มที่กินได้ ฟิล์มฐาน WPI ที่พัฒนาขึ้น มีความใส แวววาว ยืดหยุ่น และสามารถป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้ดีที่ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) ต่ำ สามารถใช้ทำบรรจุภัณฑ์อาหารที่กินได้ เช่น ถุง pouch สำหรับอาหารสำเร็จรูป ส่วนผสมวัตถุดิบต่างๆ

            ตัวฟิล์ม WPI มีความน่าสนใจ คือ ถ้าใช้เป็นโปรตีน WPI ที่ถูกนำไปผ่านความร้อนให้โปรตีนเสียสภาพธรรมชาติไปก่อน (heat-induced denaturation) ฟิล์มที่ได้จะไม่ละลายน้ำ ในทางกลับกันถ้าใช้ WPI ที่ไม่ผ่านความร้อน (unheated) มาขึ้นรูปเป็นฟิล์ม ซึ่งทางคณะวิจัยเรียกว่าฟิล์ม NWPI จะได้ฟิล์มที่ละลายน้ำได้ทันทีทั้งในน้ำเย็นและน้ำร้อน คณะวิจัยทดลองเตรียมซองเล็กๆ จากฟิล์ม NWPI บรรจุกาแฟผงสำเร็จรูป (instant coffee) พบว่าแม้ฟิล์ม NWPI จะมีสมบัติ thermoplastic สามารถปิดผนึกซองด้วยความร้อน (heat seal) ได้ แต่ปรากฏว่าพอนำซองกาแฟไปละลายในน้ำร้อน จะเหลือส่วนขอบถุงตรงที่โดนความร้อน แต่พอทดลองใช้สารละลายที่ใช้สำหรับเตรียมฟิล์มทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวช่วยผนึกซองไว้ ซอง NWPI สามารถละลายได้ทันที และเมื่อให้ผู้บริโภคทดลองดื่มกาแฟที่บรรจุในซอง NWPI เทียบกับกาแฟซองธรรมดา พบว่าผู้ทดสอบส่วนใหญ่ไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของตัวอย่างทั้งสองนี้อีกด้วย 

          ฟิล์มที่พัฒนาขึ้นนอกจากจะมีศักยภาพในการขึ้นรูปเป็นถุงเพื่อบรรจุและยืดอายุอาหารแล้ว ยังอำนวยความสะดวกในการนำมาใช้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญ ทางภาคอุตสาหกรรมในประเทศเราให้ความสนใจในการนำผลงานวิจัยนี้ไปต่อยอดพัฒนาบรรจุภัณฑ์ eco-friendly ออกสู่ตลาดจริง

สามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่

Janjarasskul T, Tananuwong K, Phupoksakul T, Thaiphanit S. 2020. Fast dissolving, hermetically sealable, edible whey protein isolate-based films for instant food and/or dry ingredient pouches. LWT 134: 110102. https://doi.org/10.1016/j.lwt.2020.110102.


ผู้เรียบเรียงขอขอบพระคุณ ดร.ธีรนันท์ เจนจรัสกุล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและความอนุเคราะห์ในการตรวจทานความถูกต้องของบทความ

แหล่งอ้างอิง

[1] https://www.notpla.com/#subscriptions

[2] https://www.erm.com/sustainabilityreport2017/megatrends/

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...