หลายๆท่านคงเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับ เมลามีนในนมผง
, การนำ
DNA ม้ามาใส่ในเนื้อวัว
แล้วเกิดคำถามว่าพฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าอะไร พฤติกรรมดังกล่าวคือ การปลอมอาหาร หรือ Food
Fraud หมายถึง
การปลอมแปลงและจงใจเจตนา ทดแทน เจือจางหรือการเติมสิ่งแปลกปลอมลงในสินค้าหรือวัตถุดิบ หรือ การปกปิดให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ
เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการค้า โดยการเพิ่มมูลค่า
คุณลักษณะของสินค้าหรือการลดค่าใช้จ่ายของการผลิตสินค้า และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคตามมาได้
ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 27 ได้ระบุโทษสำหรับผู้ผลิตอาหารปลอมไว้ว่า
ต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท
การปลอมอาหาร สามารทำได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
โดยสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้
1. การเจือจางลง (Dilution) |
กระบวนการผสมของเหลวที่มีมูลค่าต่ำไปในของเหลวที่มีมูลค่าสูงกว่า |
2. การใส่สารปรับปรุงที่ไม่ได้รับอนุญาต (Unapproved enhancements) |
การเติมวัตถุที่ไม่ได้รับอนุญาตที่ใช้กับอาหารลงไป
เพื่อปรับปรุง คุณสมบัติด้านคุณภาพ |
3. การใช้วัตถุดิบอื่นทดแทน (Substitution) |
การเปลี่ยนใช้ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าต่ำ
เพื่อใช้ทดแทนส่วนผสมที่มีมูลค่าสูงกว่า |
4.
การตั้งใจระบุฉลากผิด (Mislabeling) |
การระบุข้อความบนฉลากบรรจุภัณฑ์ที่ผิด
เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ |
5. การลอกเลียนแบบ (Couterfeiting) |
การคัดลอก เช่น
ซื้อ(แบรนด์) บรรจุภัณฑ์ สูตร เป็นต้น
ของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ |
6. การปกปิดให้ข้อมูลที่ด้อยคุณภาพ (Concealment) |
การปกปิดซ่อนคุณภาพของอาหารหรือวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำ |
7. แอบขายสินค้าส่วนเกิน / ขายในตลาดที่ ไม่ได้รับอนุญาต [จากลูกค้า] (Grey market production/theft/diversion) |
แอบขายสินค้าส่วนเกิน
/ ขายในตลาดที่ไม่ได้รับอนุญาต [จากลูกค้า] |
รูปแบบการปลอมอาหารที่หลากหลายนี้เองอาจก่อเกิดผลกระทบขึ้นได้หลายระดับตั้งแต่
มีทั้งผลกระทบที่ผู้บริโภคตกอยู่ในความเสี่ยงทันที (Direct
Food Safety risks) เช่น เกิดการแพ้อาหารส่วนที่เติมเข้ามา
เป็นต้น ผลกระทบที่ผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายในระยะยาว
(Indirect Food Safety risks)
เช่น เกิดการสะสมจนเกิดอาการป่วยตามมา เป็นต้น หรือไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม
(Technical food fraud risk)
ดังนั้นเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปลอมอาหาร ในฐานะผู้บริโภคจำเป็นต้องเลือกอาหารที่บริโภคอย่างระมัดระวังโดยการ อ่านฉลาก ดูส่วนผสม วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ตลอดจนเลขสารบบอาหารทุกครั้ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสุขภาพที่ดี ในส่วนของผู้ประกอบในฐานะผู้ผลิตนั้นสามารถป้องกันการปลอมอาหารได้โดย การประเมินความเสี่ยงในการปลอมอาหาร วางมาตรการป้องกันและจัดการความเสี่ยง การทวนสอบมาตรการอย่างสม่ำเสมอ และฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการในโรงงานหรือผู้มีความเกี่ยวข้องให้มีความรู้ความตระหนักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและชื่อเสียงระยะยาวของบริษัทเอง