คุณ ช่อลัดดา เที่ยงพุก
ฝ่ายกระบวนการผลิตและแปรรูป สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จุลินทรีย์ในลำไส้ของเรามีมากกว่า 5,000
สายพันธุ์ และปริมาณมากถึง 100 ล้านล้านตัว มีทั้งที่เป็นชนิดดีที่เรียกว่าโพรไบโอติกส์
(probiotics)
และชนิดไม่ดี จุลินทรีย์เหล่านี้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าอวัยวะภายในของมนุษย์ จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์
คือจุลินทรีย์มีชีวิต เมื่อได้รับในปริมาณที่มากพอจะส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค โพรไบโอติกส์มีหลายตระกูล
เช่น แลคโตคอกคัส (Lactococcus)
แลคโตบาซิลลัส
(Lactobacillus) และบิฟิโดแบคทีเรียม
(Bifidobacterium) เป็นต้น
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส์สร้างกรดแลคติคช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค เช่น
Clostridium perfringens ที่สร้างสารพิษ
และ Salmonella ทำให้ลำไส้อักเสบ
เป็นต้น ช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอล
และไตรกลีเซอไรด์ ในเลือด ช่วยในการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูกได้
เนื่องจากกรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์บิฟิโดแบคทีเรียมผลิตขึ้น
จะกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ช่วยเพิ่มความชื้นของอุจจาระ
ทำให้สามารถขับถ่ายได้สะดวก ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในระบบย่อยอาหาร
สามารถผลิตวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 6
สำหรับคนที่มีสุขภาพดี จะมีโพรไบโอติกส์มากพอ
แต่ถ้าคนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารไม่ครบถ้วน นอนดึก มีความเครียด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
ก็จะทำให้โพรไบโอติกส์ลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรค อาทิ ท้องผูก มะเร็ง
โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ข้าวหมาก
หรือการทานอาหารที่สามารถเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ได้ ซึ่งเรียกว่า พรีไบโอติกส์ การนอนหลับที่เหมาะสม อารมณ์ดี การออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโพรไบโอติกส์ได้
พรีไบโอติกส์ (prebiotics) เป็นอาหารซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหาร
แต่จะถูกย่อยในลำไส้ใหญ่ด้วยโพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์มีหลายชนิด ได้แก่ โอลิโกแซ็กคาไรด์ อินูลิน น้ำตาลแอลกฮอล์
แป้งทนต่อการย่อย เป็นต้น พรีไบโอติกส์ได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ เช่น หัวกระเทียม
หัวแก่นตะวัน ผลแอบเปิ้ล ผลมะละกอ เมล็ดข้าวบาร์เลย์ หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง เห็ด
กล้วย ในปัจจุบันมีสารสกัดพรีไบโอติกส์จากพืช เช่น โอลิโกแซคาไรด์ น้ำตาลแรฟฟีโนส อินูลิน พรีไบโอติกส์จากการสังเคราะห์ด้วยเอนไซม์
เช่น ฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ และพรีไบโอติกส์จากการสังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี
เช่น น้ำตาลแอลกอฮอล์ และ แลคตูโลส ปัจจุบันสามารถบริโภคพรีไบโอติกส์ได้ในรูปอาหารเสริมทั้งชนิดพรีไบโอติกส์อย่างเดียว
หรือมีทั้งพรีไบโอติกส์ ผสมโพรไบโอติกส์ ที่เรียกว่าซินไบโอติกส์ นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดเติมพรีไบโอติกส์
ได้แก่ เครื่องดื่ม นม อาหารทารก โยเกิร์ต พาสต้า ขนมอบ ซอส อาหารเช้าธัญพืช ซุป
ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น ในการรับประทานพรีไบโอติกส์
ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้รับประทานอินูลิน
2-15 กรัม
ถ้ามากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องอืด ปวดท้อง เกิดแก๊สในลำไส้
จุกเสียด รู้สึกอึดอัด เรอ หรือผายลมบ่อย
ดังนั้นเราจึงควรดูแลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้สมดุล เพื่อให้ร่างกายของเรามีสุขภาพดี
บรรณานุกรม
ประกานต์
ฤดีกุลธํารง และ จารุณี ควรพิบูลย์ 2555 พรีไบโอติก: อาหารส่งเสริมสุขภาพ
ธรรมศาสตร์เวชสาร
12(2): 362-369
ปลอดโรคภัย
เมื่อให้อาหารดีแก่จุลินทรีย์ในลำไส้ 2018
https://ngthai.com/animals/14661/the-story-of-microbiom/ (22
เม.ย. 2565 )
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
(อินูลิน) https://shorturl.asia/Rtkz7(22
เม.ย. 2565 )
พงศ์พันธุ์
วัชรวิชานันท์ จุลินทรีย์ก่อโรค
https://fdakorat.files.wordpress.com/2018/03/610329-pathogenic.pdf
(22 เม.ย. 2565 )
พิมพ์เพ็ญ
พรเฉลิมพงศ์ และพิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ ผู้เรียบเรียง
Prebiotic / พรีไบโอติก https://shorturl.asia/MSeCs
(22 เม.ย. 2565 )
รพ. พญาไท 2 การตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ Gut
Microbiome https://shorturl.gg/YZS5Z
(22 เม.ย. 2565 )
วิรัชนีย์ แก่นแสนดี จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก http://www3.rdi.ku.ac.th/cl/knowledge/probiotic.pdf
(22 เม.ย.
2565 )
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2556) คําชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพร
ไบโอติกในอาหาร
และประกาศ กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 346) พ.ศ.2555 (ฉบับที่ 2)