Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

3 เหตุผล ทำไมต้องวางแผนการป้องกันการปลอมอาหาร (Food Fraud)



เชื่อว่าข่าวคราวเรื่องของเมลามีนในนมผง , เนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว , ไข่ปลอม  คงจะเคยผ่านหูผ่านตาของทุกท่านกันมาอยู่บ้าง  กระบวนการปลอมแปลงอาหาร หรือ Food Fraud คือ การปลอมแปลงและจงใจเจตนา ทดแทน เจือจาง สับเปลี่ยน หรือเติมสิ่งแปลกปลอมลงในสินค้าหรือวัตถุดิบ หรือ การปกปิดให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของสินค้าหรือวัตถุดิบต่างๆ เพื่อหวังกำไรที่เพิ่มขึ้นหรือผลประโยชน์ทางการค้า โดยการหลอกลวงคุณลักษณะของสินค้าหรือการลดค่าใช้จ่ายของการผลิตสินค้าซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดผลกระทบตามมาในหลายระดับอาจเกิดความเสี่ยงจากการบริโภคทันที (Direct Food Safety risks) ไม่ว่าจะเป็น การแพ้อาหาร  ท้องร่วง หรืออื่นๆ  หรืออาจเกิดความเสี่ยงจากการบริโภคในระยะยาว (Indirect Food Safety risks)  ในลักษณะสารพิษที่เข้าไปสะสมภายในร่างกาย หรืออาจไม่มีความเสี่ยงทั้งทางตรงหรือทางอ้อมเลยก็ได้ (Technical food fraud risk) ผลกระทบเหล่านี้นอกจากจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคแล้ว ก็ยังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหารตามมาเช่นกัน

วันนี้จะพาทุกท่านไปพบกับ 3 เหตุผลที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารควรจะมีการวางแผนป้องกันการปลอมอาหารขึ้น

1) การป้องกันดีกว่าการแก้ไขเสมอ : หลายๆโรงงานอาจมองเห็นว่าเรื่องการวางแผนการป้องการและควบคุมเกี่ยวกับการปลอมอาหารเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้ให้ความใส่ใจตรงส่วนนี้มากนัก แต่หากเกิดเหตุไม่คาดคิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ย่อมส่งผลเสียต่อรายได้จากการจำหน่ายสินค้า รวมไปถึงส่งผลต่อภาพลักษณ์  ความน่าเชื่อถือ และชื่อเสียงในระยะยาวของบริษัทดังนั้นแล้วการที่โรงงานหรือผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญกับการวางแผนป้องกันล่วงหน้าย่อมเกิดผลดีกับองค์กรมากกว่า  การมาคอยแก้ไขปัญหาในภายหลังอย่างแน่นอน
2) แผนการป้องกันการปลอมอาหารเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบมาตรฐานโรงงานระดับสูง :  การที่ผู้ประกอบการหรือโรงงานอยากพัฒนาระบบมาตรฐานให้ไปสู่ระดับสูงเพื่อการส่งออกและการได้รับการรับรองในระดับสากลการวางแผนการป้องกันการปลอมอาหารเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นจะต้องมีเพื่อการพัฒนาระบบมาตรฐานให้ไปสู่ระดับสากลไม่ว่า ISO22000, FSSC22000 หรือ BRCGS ต่างๆ  ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยยกระดับโรงงานและธุรกิจของเราให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล เปิดช่องทางในการขยายสินค้าให้กว้างขวางขึ้นและเป็นโรงงานได้รับการยอมรับในเรื่องของมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
3) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี : ไม่ต้องสงสัยเลยว่าหากเกิดเหตุการณ์ในเชิงลบเกี่ยวกับการปลอมแปลงอาหารหรือข่าวคราวเชิงลบในเรื่องของอาหารย่อมสร้างความกังวลใจให้กับผู้บริโภคตลอดจนส่งผลเสียต่อปริมาณการจัดจำหน่ายและอาจทำให้ยอดขายของบริษัทต่างๆลดลงอีกด้วยดังนั้นและการวางแผนการป้องกันการปลอมอาหารจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นในระยะยาว 

และนี่ก็คือเหตุผลที่เราในฐานะผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตต้องวางแผนการป้องกันการปลอมอาหาร (Food Fraud) ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อส่งมอบสินค้าที่ดีและปลอดภัยให้ถึงมือผู้บริโภคแต่ยังเป็นการช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีอีกด้วยยังไงซะป้องกันไว้ก็ดีกว่าต้องมาแก้ไขในภายหลังอย่างแน่นอน    ดังนั้นสามารถมาเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันได้ใน  "หลักสูตรออนไลน์ Food Fraud การประเมินความเสี่ยงและแผนป้องกัน"  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21 เม.ย. 66 สนใจลงทะเบียนหลักสูตรได้ที่ : https://bit.ly/2TooA0T

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...