Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

Food Science Food Talk : คุยกับ นุติ หุตะสิงห (TUCK the CHEF)

        

  01.ประสบการณ์ที่ผ่านมา : ผมเรียนจบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางอาหารโดยตรง ปริญญาตรีจบจากสาขาเทคโนโลยีทางอาหารที่จุฬาลงกรณหลังจากนั้นก็มีโอกาสไปเรียนการทำอาหารที่เลอกอร์ดองเบลอเป็นเชฟที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งสุดท้ายได้รับทุนไปเรียนต่อด้านนวัตกรรมอาหาร food innovation and product design ที่ยุโรป (ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ สวีเดน) และตอนนี้ก็กลับมาเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศไทยในสาขาเทคโนโลยีทางอาหารเหมือนเดิมทำให้สามารถผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์กับการประกอบอาหารเข้ามาไว้ด้วยกัน แล้วก็เปิดเป็น Page tuck the Chef ขึ้นมา  ซึ่งก็มีผู้ติดตามเกือบ 80,000 หมื่นคนแล้ว 

  02.ทำไมเลือกเรียน Food science ชอบวิชาใดเป็นพิเศษ : คือผมเป็นคนที่ชอบทำอาหารมาตั้งแต่เด็กๆ เกิดมาก็เห็นคุณย่า คุณยาย คุณแม่ก็ทำอาหาร ประกอบกับเราเป็นคนชอบวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ทำให้เราชอบสังเกต ชอบดูว่าเวลาเราทำอาหารเวลาเราใส่เครื่องปรุงอะไรลงไปมันเกิดปฏิกิริยาอะไร คือชอบมาตั้งแต่ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยแล้วเลยทำให้การเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ยากเพราะมีความชอบอยู่ตั้งแต่แรก  ส่วนวิชาที่ชอบตอนมัธยมปลาย ชอบวิชาชีววิทยา  แต่พอเข้ามหาวิทยาลัยแล้วมาชอบวิชาเคมี เพราะเคมีอาหารเป็นวิชาที่ตอบโจทย์ว่า  เราใส่วัตถุดิบนี้ไปทำไม จะพัฒนายังไงด้วยวิทยาศาสตร์ได้มากที่สุด  

  03.คิดว่าในชีวิตประจำวันเราประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์อาหารอย่างไรได้บ้าง : ความจริงวิทยาศาสตร์อาหารสามารถใช้ได้กับทุกเมนู มันขึ้นอยู่กับว่าเราสังเกตได้ดีหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์แล้วก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้เพราะเขาในประสบการณ์ แต่ว่าถ้าเราเป็นคนที่เพิ่งเริ่มทำอาหารนั้น วิทยาศาสตร์จะช่วยให้ข้อผิดพลาดของเราน้อยลง เช่น การทำขนมเมอแรงค์  ไข่ขาว เรารู้ว่าปกติไข่ขาวถ้าเราตีมากเกินไปมันจะแยกน้ำ ดังนั้นเราก็อย่าตีมากไป และใส่น้ำตาลเพื่อทำให้โฟมคงตัวมากยิ่งขึ้น นี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้วิทยาศาสตร์อาหารง่ายๆ สำหรับการตีเมอแรงค์ไข่ขาวเพื่อทำเค้กชิฟฟ่อนประสบความสำเร็จมากขึ้น  ถ้าเราไม่รู้แล้วเราตีเกินก็จะทำให้ไข่ขาวแยกน้ำ  แยกเนื้อ เค้กก็จะเละ 

  04.คิดว่าอาหารที่ทำเอง กับ ที่ซื้อกิน มีส่วนเหมือนกันหรือต่างกันตรงไหน : ความแตกต่างของอาหารที่บ้านกับอาหารที่ซื้อกิน ทำไมอาหารที่เราทำกินเองที่บ้านบางทีเราจะรู้สึกว่ามันอร่อยกว่า ก่อนอื่นเลยก็คือมันเป็นรสมือแม่เราก็จะรู้สึกคุ้นเคยกับมัน ส่วนข้อ2 คือเวลาเราทำอาหารที่บ้านเราก็จะทำกันทีละน้อยๆมันก็จะรู้สึกถึงกลิ่นหอมกระทะ กลิ่นผัดอะไรต่างๆ แต่บางทีอย่างเราไปซื้อข้าวราดแกง อาหารตามท้องตลาดที่มีการผัดทีละเยอะๆ แทนที่มันจะเป็นการผัด ก็กลายเป็นการต้ม บางทีความร้อนก็ไม่ถึง กลิ่นรสก็ไม่ถึง อันนี้คือความแตกต่างของมัน

       05.คิดว่าถ้าโลกนี้ไม่มีนักวิทยาศาสตร์อาหาร โลกจะเป็นยังไง ? : "ถ้าโลกนี้ไม่มีนักวิทยาศาสตร์อาหารการทำอาหารของเราก็จะย่ำกับที่เลย" คือคนสมัยก่อนทำอย่างไรคนปัจจุบันก็จะทำตามเช่นนั้น ซึ่งไม่มีคำตอบว่าที่ทำไปเพราะสาเหตุใด ซึ่งถ้าเรารู้ลึกๆจะทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ไกลกว่านี้ ตัวอย่างเช่น คนสมัยก่อนก็รู้ว่าต้องใส่ไข่แดงไปแป้งทอดกรอบ แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าสัมผัสของแป้งที่ออกมานั้นดีกว่ายังไงแต่นักวิทยาศาสตร์อาหารสามารถตอบคำถามได้ การที่ในไข่แดงมีเอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้ง ทำให้แป้งออกมาไม่หนาเกินไป เมื่อนักวิทยาศาสตร์อาหารเป็นคนตอบคำถามเหล่านี้ ก็ทำให้เขาประยุกต์ใช้ได้ไกลกว่าก็คือการเอาเอนไซม์อะไมเลสที่อาจไม่ได้มาจากไข่แดงเอามาใส่โดยตรงเลยก็จะช่วยในเรื่องการประหยัดงบประมาณและยังสามารควบคุมคุณภาพๆได้ดีขึ้นอีกด้วย

      06.อาหารชนิดใดที่อยากให้แปรรูปเป็นอาหารพร้อมปรุง/พร้อมทานแต่ยังไม่มีใครทำขาย คิดว่าเป็นเพราะอะไร : ความจริงแล้ว คนไทยชอบทานพวกยำมากเลยนะ แต่ผมยังไม่เคยเห็นว่ามีทำเป็นพร้อมปรุงนะ เพราะว่าติดปัญหาหลายเรื่อง เช่น มะนาว พอบีบไปทิ้งไว้นานๆ ก็เสีย แต่ถ้าใส่กลิ่นก็เป็นกลิ่นปลอมอีก ผมว่ากลิ่นของมะนาวนี่เป็นความท้าทายหนึ่งเลย อยากให้ในอนาคตคนสามารถเก็บรสชาติของน้ำมะนาวคั้นสดได้ในอาหาร ทำให้เราสามารถทำยำ ทำส้มตำ ทำน้ำจิ้มซีฟู้ด พร้อมรับประทานที่อร่อยเหมือนทำสดๆ ได้ 

      07.อาหารคืออะไรได้บ้างในสายตาคุณ :  ในมุมวิทยาศาสตร์คืออาหารเป็นสิ่งที่ให้พลังงาน แต่ถ้าในเชิงของศิลปะ วัฒนธรรม อาหารเป็นประวัติศาสตร์ บางทีกินแล้วทำให้เรานึกถึงความทรงจำในอดีต อาหารอาจหมายถึงสังคมด้วยก็ได้เวลาเพื่อนๆอยากนัดกันก็คงไปกินกันที่ร้านอาหาร อาหารคือวัฒนธรรม ยารักษาโรค  ดังนั้นอาหารจึงเป็นได้หลายๆอย่างไม่ใช้ให้แค่คุณค่าทางโภชนาการอย่างเดียว

      08.Tuck the Chef มีจุดมุ่งหมาย  อยากบอกคนที่ยังไม่เคยมาชม : จุดหมายของเพจคือการแชร์ความรู้ว่าวิทยาศาสตร์สามารถประยุกต์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ได้อยู่แค่กับงานวิจัย วิชาชีพแพทย์ หรืออุตสาหกรรม จะแชร์ให้คนที่ทำอาหารตามบ้านได้ประโยชน์ด้วยซึ่งคนกลุ่มนี้มีจำนวนมาก  คนที่ยังไม่เคยเข้ามาดู ก็อยากบอกว่าจริงๆแล้วเป็นเพจที่ไม่ได้ตามใจ ไม่ได้เป็นเพจที่อินเทรน หรือตามใจวัยรุ่นที่ชอบอ่านอะไรสั้นๆ รูปสวยๆ ผมจะเขียนยาวมากดังนั้น คนที่จะมาอ่านต้องทำใจไว้นิดนึง ว่าต้องอ่านแล้ววิเคราะห์ตามซึ่งจะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าอยากได้ Key  message ผมก็มีเขียนสรุปไว้ให้ในช่วงท้าย  แต่ช่วงกลางๆ จะเป็นช่วงที่ได้อ่านแล้ววิเคราะห์ตามซึ่งก็เป็นสีสันของเพจคือไม่ได้แค่ข้อสรุปแต่อ่านแล้วได้วิเคราะห์ตามไปด้วยซึ่งเป็นจุดเด่นขอเรา   

      09.อะไรที่อยากบอก แต่เรายังไม่ได้ถาม : สิ่งที่อยากบอกคือไม่จำเป็นต้องดูวิทยาศาสตร์แต่ก็สามารถทำอาหารอร่อยได้ถ้ามีประสบการณ์ แต่คนที่เริ่มต้นทำอาหารโดยนำวิทยาศาสตร์มาใช้จะทำให้มีข้อผิดพลาดน้อยลง  ยิ่งเราศึกษาวิทยาศาสตร์ลึกเท่าไหร่ มันเหมือนเป็นการง้างหนังยาง จะสามารถประยุกต์ไปได้ไกล และกระโดดได้ไกลเท่านั้น อันนี้คือความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อการทำอาหารหรือขนมที่ไม่อยากให้มองข้าม คนทำอาหารตามสูตรได้ แต่ถ้าคุณรู้วิทยาศาสตร์แล้วเจอปัญหา แล้วอยากนำมาประยุกต์จะทำได้มากกว่าคนที่ไม่รู้วิทยาศาสตร์ที่รู้แค่สูตรอาหารอย่างเดียว

        

                         "คนทำอาหารตามสูตรได้แต่ถ้าคุณรู้วิทยาศาสตร์แล้วเจอปัญหาแล้วอยากนำมา

ประยุกต์จะทำได้มากกว่าคนที่ไม่รู้วิทยาศาสตร์ที่รู้แค่สูตรอาหารอย่างเดียว"

 

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...