Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค

“ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค” ประโยคสั้นๆ ที่มีความหมายกับคุณภาพชีวิตของคนไทยที่ใช้เป็นสโลแกนของเครือข่ายลดบริโภคเค็ม คนไทยร้อยละ 60 เสียชีวิตก่อนวัยอันควรเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต และอัมพาต เป็นต้นเหล่านี้ ที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่องค์การอนามัยโลกและภาครัฐของไทยต้องแก้ไขและป้องกัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือกจำนวน 40,000 คนต่อปีมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 แสนบาทต่อปีและฟอกสัปดาห์ละ 2 – 3 วัน มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งประเทศ 2 หมื่นล้านบาท หรือ 10 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณกระทรวงสาธารณสุข สาเหตุของการเกิดไตวายนั้นพบว่าเกิดจากเบาหวานความดันโลหิตสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ มักพบในคนที่รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ กินหวาน กินเค็มมากเกินควร และยังพบว่าไตวายเกิดจากโรคนิ่วในไต เกาต์ หรือกลุ่มคนที่นิยมทานยาแก้ปวดเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดโรคไตได้ รวมทั้งโรค SLE หรือโรคพุ่มพวงก็ถือว่าเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคไตเช่นกัน จากการสำรวจของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่ามีผู้ป่วยโรคไต 7 ล้านคนที่พบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาโดยการกินยา ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารลดเค็มเพื่อป้องกันการรุนแรงของโรค ในกลุ่มผู้ใหญ่มักพบถึงร้อยละ 17 ที่เป็นโรคไตระยะเริ่มต้น ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยไม่ทราบหรือมีอาการของโรค หากไม่พบแพทย์หรือตรวจสุขภาพอาหารก็จะรุนแรงขึ้นจนขั้นไตวาย เพราะในคนมีไตสองข้างหากไตมีปัญหาข้างใดข้างหนึ่ง 50% ของคนไข้จะไม่มีอาหารเพราะยังสามารถทำงานขับของเสียได้ตามปกติ แต่ถ้ามีปัญหาไป 70 เปอร์เซ็นต์คนไข้จะมีอาการเพราะไตทำงานหนัก เข้าสู่ภาวะไตวายและต้องฟอกไต สำหรับโรคหัวใจถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาของการบริโภคเค็ม โดยพบมากถึงปีละ 7 แสนคน สาเหตุพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานเค็มและไขมัน และยังเป็นสาเหตุไปสู่อัมพาตตามมาด้วย ในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยอัมพาตมากถึง 5 แสนคนต่อปีต้องเป็นภาระต่อผู้ดูแลทั้งการให้อาหารและดูแล สุขภาพอื่นๆ โดยอีกสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อโรคหัวใจ คือ กรรมพันธุ์ โรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การกินเค็ม ภาวะอารมณ์และความเครียด ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญอีกปัญหาที่ถือว่าเป็นสาเหตุปัจจัยของโรคภัยดังกล่าว คือ ภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดจากการได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นของร่างกาย โดยการได้รับจากอาหารที่มีการเติมเครื่องปรุงรสชูรสชาติในปริมาณที่สูง เช่น น้ำปลา ปลาร้า กะปิ เกลือ และผงปรุงรสอื่นๆ เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น เป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรม ที่สามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนการบริโภคเค็มให้เหลือเพียงครึ่งของปกติ และเป็นแนวทางที่เครือข่ายลดเค็มได้เร่งผลักดัน มีการประชุมแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างเกราะสำคัญมั่นคงในการแก้ปัญหาเหล่านี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) เห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาระดับนานาประเทศ มีการประกาศให้ตระหนักถึงอันตรายของโลกอนาคตจากการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง ที่ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยภายในระเวลา 30 ปี กำหนดเป้าหมายให้ความชุกโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 30 หรือปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐของไทยได้ตอบรับร่วมมือในการแก้ปัญหา รณรงค์ให้คนไทยตระหนักให้ความสำคัญในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น มีการระดมให้ภาคเอกชนหันมาสนใจในการผลิตอาหารสู่วงจรสินค้าอุปโภค เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับโซเดียมที่น้อยลง อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการโฆษณา เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อต้าน โดยอาศัย สื่อวิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศ และผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ นอกจากนั้นการใช้บุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับทั้งส่วนกลางในความพร้อมของทีมแพทย์ นักวิชาการสุขภาพทุกสาขา และกลุ่มอาสาสมัครทางสาธารณสุขหรือ อสม. ก็เป็นอีกช่องทางสำคัญในการแก้ปัญหาระดับประเทศในครั้งนี้ 



ติแล้วร่างกายคนเราต้องการโซเดียมประมาณวันละ 1500 มิลลิกรัม/วัน หรือเท่ากับเกลือประมาณ ¾ ช้อนชา เพื่อใช้สำหรับการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย แต่จากผลการสำรวจทั่วโลก พบว่าประชากรส่วนใหญ่มีการบริโภคโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย 3-4 เท่าตัว ซึ่งถือว่าอยู่ในสถานการณ์อันตราย และถ้าไม่ได้รับการควบคุมอาจทำให้แนวโน้มการบริโภคโซเดียมเพิ่มมากขึ้นไปอีกในอนาคต ในต่างประเทศพบว่าแหล่งที่มาของโซเดียมส่วนใหญ่ประมาณ 77% จะอยู่ในอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ และที่เหลือมาจากอาหารในธรรมชาติ 12% จากกระบวนการปรุง 5% และการเติมเครื่องปรุงก่อนรับประทาน 6%

องค์การอนามัยโลกขอความร่วมมือจากประเทศต่างๆ ให้ร่วมรณรงค์ให้ประชากรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อคนต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม เพื่อลดความชุกของการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และยังได้กำหนดทิศทางการดำเนินการเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากร ดังนี้

  • การปรับเปลี่ยน/พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีปริมาณเกลือ/โซเดียม ลดลง (Product reformulation)
  • การให้ความรู้และทำให้ผู้บริโภคตระหนักรู้ (Consumer awareness and education campaigns)
  • การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (Environmental changes) ที่เอื้อต่อการเลือกอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ
    ข้อกำหนดปริมาณสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับประจำวัน สำหรับคนไทยที่จัดทำในปี พ.ศ. 2546 ได้กำหนดปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับใน 1 วันตามช่วงอายุต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วง 175 –1,500 มิลลิกรัม โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของการใช้พลังงานในแต่ละเพศและวัย และได้กำหนดความต้องการโซเดียมในหญิงตั้งครรภ์/หญิงให้นมบุตร เพิ่มขึ้นประมาณวันละ 50-350 มิลลิกรัม เนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของของเหลวภายนอกเซลล์ ความต้องการของทารกในครรภ์ ดังแสดงรายละเอียดในตาราง

    ตารางที่ 1 ความต้องการของโซเดียมในร่างกาย แยกตามเพศและอายุ จากปริมาณสารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546 กองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

อายุ  ความต้องการโซเดียม (มก/วัน)รายการที่ซื้อเพิ่มรายการที่ซื้อเพิ่ม
ชาย หญิง
น้ำนมแม่
0-5 เดือน 175-550
6-11 เดือน 225-675
1-3 ปี 300-900
1-3 ปี 300-900
4-5 ปี 325-950
6-8 ปี
9-12 ปี 400-1,175 350-1,100
13-15 ปี 500-1,500 400-1,250
16-18 ปี 525-1,600 425-1,200
19-30 ปี 500-1,475 400-1,200
31-50 ปี 475-1,450 400-1,200
51-70 ปี 475-1,450 400-1,200
≥ 71 ปี 400-1,200 350-1,050
หญิงตั้งครรภ์ เพิ่ม 50-200
หญิงให้นมบุตร เพิ่ม 125-350

นอกจากข้อกำหนดปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับในแต่ละวันแล้ว ประเทศไทยยังมีการส่งเสริมให้ ผู้บริโภคได้รับข้อมูลโภชนาการจากผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่วางจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ในปี 2554 สำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้เริ่มนำฉลาก GDA (Guideline daily amount) เพื่อมาใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่บริโภคทันที 5 กลุ่ม คือ มันฝรั่งทอดกรอบหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต เวเฟอร์สอดไส้ ซึ่งจะแสดงปริมาณพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมต่อ 1 ส่วนที่เข้าใจง่ายเช่น ถุง ซอง กล่องที่หน้าบรรจุภัณฑ์ พร้อมกับค่าร้อยละของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน โดยค่าโซเดียมที่แสดงบนฉลากจะคิดจากปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับต่อวัน คือ 2,400 มิลลิกรัม


ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายลดเค็ม รณรงค์เพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายการบริโภคเกลือลง 1, 2 และ 3 กรัม ภายในปี 2559, 2562 และ 2565 และให้ภายในปี 2568 ประชาชนต้องบริโภคเกลือไม่เกิน 7 กรัมต่อคนต่อวัน หรือบริโภคไม่เกิน 2,800 มิลลิกรัมต่อวัน


ที่มา : จากหนังสือ บทสรุปการประชุมระดมสมองเพื่อการพัฒนาและผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารลดเค็ม (โซเดียม) และต้นแบบผลิตภัณฑ์, สสส. เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...