Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

เครื่องดื่มโคล่า ทำได้ระดับนี้ จริงหรือ(ตอนที่ 2)

โต๊ะทำงาน….ดรุณี
การคิดวิเคราะห์เหตุการณ์บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์

เครื่องดื่มโคล่า ทำได้ระดับนี้ จริงหรือ(ตอนที่ 2)

ก่อนอื่น ต้องขออนุญาตบอกว่าที่นำเรื่องต่างๆมา คิด วิเคราะห์ เพราะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอาหาร/เครื่องดื่ม ที่มีการนำมากล่าวในลักษณะชี้ชวนให้เข้าใจผิด โดยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เอาซะเลย ค่ะ

ได้เห็นคลิบเกี่ยวกับเครื่องดื่มโคล่า โดยระบุว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดรุนแรง และทำให้ฟันสึกกร่อนได้

จึงขอให้ข้อมูลว่า อาหารรสเปรี้ยวทุกชนิด ก็มีความเป็นกรดสูงเกือบทั้งนั้น เช่น น้ำมะนาว ผักดอง กิมจิ อาหารยำ นมเปรี้ยว มะม่วง มะขาม เป็นต้น ซึ่งถ้าเช่นนั้น เหมือนกับว่า ไม่ควรทานผลิตภัณฑ์อาหารเหล่านี้ เช่นกัน แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะ คนเราจะไม่อมอาหารในช่องปากไว้นานๆ และจะมีน้ำลายที่ชะล้างช่องปากโดยธรรมชาติ หรือการช่วยอีกทางคือบ้วนปาก เมื่อทานอาหารเสร็จ

ดังนั้น ขอเสริมว่า สิ่งที่มีการชี้นำเรื่องเครื่องดื่มโคล่า กับการกัดกร่อน ไม่ว่าจะฟัน หรือ สนิมที่ตะปู หรือ ขั้วแบตเตอรี่รถ หรือ พื้นซีเมนท์ ก็ออกจะเวอร์ไป และก็สามารถทดลองกันเองได้ในบ้าน โดยนำตะปูที่มีสนิม แล้วเทเครื่องดื่มลงไป เพื่อดูว่าจะเกิดการกัดสนิมได้จริงไหม(แต่ต้องศึกษาการกัดกร่อน โดยต้องไม่นำแปรงมาร่วมการขัดสนิมออกด้วยหล่ะ)

ความจริง คือ กรดที่มีในเครื่องดื่มโคล่า เป็นกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสูตรดั้งเดิม และใช้ในปริมาณที่น้อยมาก หรือใกล้เคียงกับปริมาณที่พบในน้ำส้ม หรือ ถ้าตรวจสอบเป็นปริมาณฟอสฟอรัส ก็มีเพียง 2%(60 มิลลิกรัม ต่อกระป๋อง) ของปริมาณฟอสฟอรัสจากอาหารทั้งหมด

ในระดับสากล ระบุว่าร่างกายคนต้องได้รับฟอสฟอรัสในปริมาณสูงสุดถึง 70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือ 3,500 มิลลิกรัม ต่อคนที่น้ำหนัก 50 กก. หรือเท่ากับต้องดื่มเครื่องดื่มโคล่า ถึงเกือบ 60 กระป๋องต่อวัน

จึงขอนำเสนอข้อมูลนี้ เพื่อให้ผู้ที่บริโภคสื่อต่างๆได้เข้าใจ กลไกทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร จะได้ไม่ถูกหลอกให้หลงเชื่อจากสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ ค่ะ

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...