โต๊ะทำงาน….ดรุณี
การคิดวิเคราะห์เหตุการณ์บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์
โซเดียม หรือความเค็มจากเกลือ ในอาหาร
รสเค็มในอาหาร ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยมากขึ้น และเป็นหนึ่งใน 4 รสที่มีความสำคัญที่ทำให้อาหารไทยขึ้นชื่อในความเป็นอาหารที่มีความหลากหลายเรื่องชนิด และรสชาติ
แต่การปรุงในปริมาณที่มากเกินไป ก็ก่อโทษได้เช่นกัน ซึ่งจากการสำรวจทางการแพทย์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ พบว่า ถ้าทานโซเดียมในปริมาณมาก จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ ความดันโลหิตสูง (high blood pressure) โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคไตเรื้อรัง
ได้มีการกำหนดปริมาณโซเดียม ที่ควรบริโภค ให้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือ ประมาณ1ช้อนโต๊ะ
ในการผลิตอาหารสำเร็จรูปในเชิงอุตสาหกรรม เกลือ ไม่ใช่เพียงสารปรุงแต่งรส แต่ยังมีหน้าที่อื่นๆด้วย เช่น ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอาหารในกระบวนการหมักดอง (ผักดอง ปลาร้า ปลาเค็ม) การขึ้นฟูของขนมปัง การปรับปริมาณน้ำอิสระสำหรับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ (Aw) ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
การลดการทานอาหารที่เค็มเกินไป แน่นอนว่าจะช่วยให้ประชากรมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้จึงมีความจำเป็นที่ทุกหน่วยงานต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ ให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงอันตรายนี้ อย่างทั่วถึง เพื่อลดการเกิดโรคภัยไข้เจ็บของประชากร และช่วยลดภาระของประเทศเรื่องการดูแลรักษาโรคเหล่านี้
ผู้ประกอบการ ต้องการลดการใช้เกลือในอาหารที่ผลิต โดยที่อาหารนั้นๆ ยังคงมีคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่อยู่ที่ผู้บริโภค ที่ต้องเข้าใจถึงโทษของเกลือโซเดียม และไม่ขอน้ำปลาเพิ่ม เพื่อเติมรสเค็ม หรือ ไม่ซื้ออาหารนั้น เพราะรสชาติไม่ถูกปาก ค่ะ