สรุปการเสวนา Transforming Thailand : How and When
หัวข้อ “Thailand’s Transformation through Science, Technology, and Innovation”
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีโอกาสได้ไปฟัง ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวเรื่อง Thailand’s Transformation through Science, Technology, and Innovation จากการเสวนาหัวข้อ “Transforming Thailand: How and When” ภายในงานสัมมนา Thailand Taking off to New Heights เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา
ดร. สุวิทย์ เริ่มต้นอธิบายความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนประเทศและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจประเทศให้ไปสู่ความเป็น เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยในปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีการส่งเสริมในเรื่องของการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีนวัตกรรม (STI) และการพัฒนาบุคลากรนักวิจัยจนมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มขึ้นของการลงทุนและบุคลากรทางด้านการวิจัยเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงโอกาสและความก้าวหน้าที่จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้ไปสู่ Thailand 4.0
โดยในส่วนของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้วางแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทย ผ่านการสร้าง Key Technologies of National Importance ให้สอดรับกับความต้องการของโลก อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการได้โดยลำพัง จึงต้องอาศัยการลงทุนจากภายนอก และความร่วมมือภายในประเทศ ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปงบประมาณในการจัดซื้อ จัดจ้าง การขึ้นบัญชีนวัตกรรมและการวิจัย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมขึ้น
ในส่วนของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป้าหมายในอนาคตนั้น จะประกอบไปด้วย 3 Platform ดังนี้
- Bio Digital Platform : เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจุดแข็งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ลงทุนในเรื่องของ Bio Bank ที่มีทั้งพืช สัตว์ ที่จะสามารถนำไปต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง Life Innovation , Bio Medicine , precision agriculture โดยในส่วนของ Bio Digital จะตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า BIOPOLIS
- Cyber Physical Platform : จะตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า ARIPOLIS ที่ย่อมาจาก Automation Robot และ Intelligence ที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของ Cyber Physical ในอนาคต โดยบริเวณนี้จะเป็นศูนย์รวมของนวัตกรรม 3 อย่างก็คือ sensing innovation , Computing Innovation และ System & Service Innovation ที่จะช่วยในส่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรม Soft Defense เพื่อป้องกันประเทศ อีกด้วย
- Earth Space Platform : จะตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า SPACE KRENOVAPOLIS ที่ชลบุรี ในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของการพัฒนา Space Technology เป็นสำคัญ aviation technology และการพัฒนาอุตสาหกรรม Soft Defense เพื่อป้องกันประเทศบางส่วน
นอกเหนือจากยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศ โดยการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป้าหมายในอนาคตทั้ง 3 Platform ข้างต้นแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการลงทุนในเรื่องของ Area of Innovation โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECI) : ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ภายใต้ EEC เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาให้ไปสู่ระดับโลก โดยเฉพาะในเรื่องวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม โดย EECI จะตั้งอยู่ใน 2 พื้นที่ คือพื้นที่วังจันทน์ จังหวัดระยอง และพื้นที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเป็นพื้นที่ครอบคลุมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป้าหมายทั้ง 3 Platform ดังนั้นพื้นที่นี้จึงมีคุณลักษณะพิเศษหลายประการ โดยพื้นที่นี้เป็นบริเวณที่จะเชิญชวนให้มาลงทุนในเรื่องของ frontier research และจะอาศัย frontier research ในการพัฒนา Translational research เพื่อเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่างๆทั้งภายในและนอก EEC นอกจากนี้รัฐบาลได้พยายามพัฒนาในส่วนของการจัดซื้อจัดจ้างในงานวิจัย(research procurement) , การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเขต Regulatory & Technology Sandbox และยังมีการพัฒนาในส่วนของ Testing center เพื่อสร้างNational Quality Infrastructure อย่างครบครัน
- เขตนวัตกรรมเฉพาะทาง เนื่องจากประเทศไทยมีจุดแข็งทางด้านอาหาร จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านอาหารจึงได้ตั้ง Food Innopolis ขึ้น โดยจะทำงานเพื่อส่งเสริมและดูแลในส่วนของ Future Food เป็นหลัก โดยมีสถาบันต่างๆ ศูนย์วิชา และภาคเอกชนระดับโลกเข้ามาร่วมด้วยกว่า 40 ราย และกำลังจะเข้าสู่ Phase ที่ 2และ 3 ที่จะขยายตัวออกจากอุทยานวิทยาศาสตร์ที่รังสิต ไปสู่ Regional Science Park ตามภาคต่างๆ และจะมีการพัฒนาในส่วนเฉพาะทางด้านอื่นตามมาในภายหลัง
- เขตนวัตกรรมระดับภูมิภาค ปัจจุบันเราได้มีการตั้ง Regional Science Park ขึ้นทั้งหมด 3 แห่ง และกำลังจะพัฒนาแห่งที่ 4 ทั้งภาคเหนือ ใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยได้รับความร่วมมือจากมหาลัยกว่า 13 แห่งแล้ว โดยปัจจุบันตั้งอยู่ที่ มหาลัยเชียงใหม่ 1 แห่งในภาคเหนือ ที่มหาลัยขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก 1 แห่ง และที่มหาลัยสงขลานครินทร์ ที่ภาคใต้อีก 1 แห่ง โดยกำลังจะเปิดอีกหนึ่งแห่งที่นครราชสีมา
การลงทุนในเรื่องของ Area of Innovation ที่เกิดขึ้นนี้ จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการให้กับผู้สนใจในทุกระดับ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกำลังลงทุนอย่างหนักในส่วนของ National Quality Infrastructure มีการผลักดันในเรื่องของบัญชีนวัตกรรม การจัดซื้อจัดจ้างในลักษณะ research procurement การพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้แก่นักวิจัยให้มากขึ้น และกำลังขับเคลื่อนเรื่องของการสนับสนุน Start up ให้มากขึ้น ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราพยายามเอื้อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมให้ไปตอบโจทย์ Thailand 4.0 และไปสู่ความเป็น เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ให้มากที่สุด
รับชมการเสวนาฉบับเต็ม : https://goo.gl/zedfxX