Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

วิตามินซีมีดีไฉน จริงๆแล้วคืออะไร วันนี้จะได้รู้จักกัน

โดย คุณ กรวิภา เข็มตรง
บทความได้รับการคัดเลือกจากการประกวดหัวข้อ
“ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร ความปลอดภัย และโภชนาการ”

วิตามินซีเป็นสารที่ร่างกายคนเราขาดไม่ได้จำเป็นต้องได้รับทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม หากแต่ร่างกายมนุษย์นั้นไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ส่วนใหญ่ การกินอาหารพวกผักผลไม้ อาทิ ผลไม้ตระกูลส้ม แตงโม มะเขือเทศ มะละกอ ฯลฯ[2] จึงเป็นคำตอบของการได้รับวิตามินซีของร่างกาย

ในอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิตามินซีในด้านต่างๆมากมาย ทำให้มีบทความหลายฉบับที่กล่าวถึงคุณประโยชน์ของวิตามินซีต่อร่างกายมนุษย์ทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี (Potent  antioxidant) ช่วยในการสร้างเส้นใยคอลลาเจนที่แข็งแรงในผิวหนังและส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ [4] รวมถึงรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องการรักษาและป้องกันโรคไข้หวัด ซึ่งเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินมาว่าการกินวิตามินซีจะช่วย ปกป้องและรักษาอาการป่วยจากหวัดได้  แต่รายงานวิจัยหลายฉบับให้ผลว่า วิตามินซีไม่มีผลต่อการป้องกันและรักษาโรคหวัด [6,7,11,12] นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงคุณประโยชน์ของวิตามินซีต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease) โดยรายงานการวิจัยบางฉบับกล่าวว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้[5,8] แต่บางฉบับก็รายงานว่าไม่มีผลต่อการรักษาหรือปกป้องการเกิดโรคดังกล่าว[9,10] ดังนั้นจึงอย่าพึ่งเชื่อหากได้ยินโฆษณาชวนเชื่อถึงการกินวิตามินซีแล้วจะช่วยป้องกันและรักษาโรคเหล่านี้เพราะยังไม่ข้อสรุปทางการศึกษาและวิจัยอย่างชัดเจน

ถึงรายงานการวิจัยบางฉบับจะชี้ให้เห็นว่าวิตามินซีนั้นป้องกันและรักษาบางโรคตามที่เคยได้ยินมาไม่ได้ แต่ ร่างกายของแต่ละบุคคลก็ยังจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน (Recommended Dietary  Allowance,  RDA) เช่น เพศหญิง เพศชาย และคนสูบบุหรี่ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ต้องการวิตามินซี 75 90 และมากกว่าคนทั่วไป 35 มก./วัน ตามลำดับ[13,14,1] หากได้รับในปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายที่มีวิตามินซีมาเกี่ยวข้องขาดความสมดุล ที่เห็นได้ชัดคือ เส้นใยคอลลาเจนที่สร้างขึ้นจะไม่แข็งแรง ทำให้เนื้อเยื่อผิวอ่อนแอขาดความยืดหยุ่นและบาดเจ็บง่ายจากการทำงานโดยเฉพาะตามเหงือกจะพบเลือดออกตามไรฟันที่เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด[3] ถ้าได้รับวิตามินซีมากกว่าเกณฑ์อาจจะทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากได้รับในปริมาณที่มากเกิน 2,000 มก./วัน สำหรับคนที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป[2] ถึงแม้ร่างกายจะสามารถขับวิตามินซีส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้ก็ตาม

ไม่ใช่เพียงวิตามินซีเท่านั้นที่ต้องได้รับในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆก็ไม่ต่างกันควรบริโภคแต่พอดี ไม่เช่นนั้นประโยชน์ที่ได้รับอาจกลับกลายเป็นโทษต่อร่างกายแทน

เอกสารอ้างอิง

  1. https://lpi.oregonstate.edu/mic/vitamins/vitamin-C
  2. https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminC-HealthProfessional/#en8
  3. https://jeffreydachmd.com/heart-disease-vitamin-c-and-linus-pauling2/
  4. http://haamor.com/th/วิตามินซี/
  5. Zhang S1, Hunter DJ, Forman MR, Rosner BA, Speizer FE, Colditz GA, Manson JE, Hankinson SE, Willett WC. Dietary carotenoids and vitamins A, C, and E and risk of breast cancer. J Natl Cancer Inst. 1999 Mar 17;91(6):547-56.
  6. Douglas RM, Hemilä H, Chalker E, Treacy B. Vitamin C for preventing and treating the common cold. Cochrane Database Syst Rev. 2007 Jul 18;(3):CD000980.
  7. Audera C, Patulny RV, Sander BH, Douglas RM. Mega-dose vitamin C in treatment of the common cold: a randomised controlled trial. Med J Aust. 2001;175(7):359-362.
  8. Ye Z1, Song H. Antioxidant vitamins intake and the risk of coronary heart disease: meta-analysis of cohort studies. Eur J Cardiovasc Prev Rehabil. 2008 Feb;15(1):26-34. doi: 10.1097/HJR.0b013e3282f11f95.
  9. Lee DH1, Folsom AR, Harnack L, Halliwell B, Jacobs DR Jr. Does supplemental vitamin C increase cardiovascular disease risk in women with diabetes? Am J Clin Nutr. 2004 Nov;80(5):1194-200.
  10. Kushi LH1, Fee RM, Sellers TA, Zheng W, Folsom AR. Intake of vitamins A, C, and E and postmenopausal breast cancer. The Iowa Women’s Health Study. Am J Epidemiol. 1996 Jul 15;144(2):165-74.
  11. https://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/vitamin-c-for-common-cold#1-3
  12. https://www.healthline.com/nutrition/does-vitamin-c-help-with-colds
  13. http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/ปริมาณสารอาหาร.pdf
  14. http://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.4.8-DRI.pdf

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...