Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

อาหารทางการเเพทย์

โดย คุณชัยนันท์ สุขสมิทธิ์


ทำอย่างไร ให้ผู้ป่วยกลับบ้านและฟื้นตัวได้เร็ว

ผู้ป่วยเมื่อได้รับการรักษาจากแพทย์ในโรงพยาบาลแล้ว กลับมาพักฟื้นที่บ้านจะฟื้นตัวเป็นปกติได้เร็ว เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีสารอาหารครบและเหมาะสำหรับผู้ป่วยนั้นๆ รวมถึงได้รับกำลังใจที่ดี เมื่อมีสองอย่างนี้ ผู้ป่วยระยะพักฟื้นจะสามารถกลับคืนสภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว

ทำไมการได้สารอาหารครบ ทำให้ผู้ป่วยระยะพักฟื้นเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

โดยปกติแล้วจะพบว่าผู้ป่วยมักมีภาวะของการขาดสารอาหารมากกว่าปกติเนื่องจากอาการเจ็บป่วย และสุขภาพที่ไม่แข็งแรง ทำให้เกิดการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย แต่สภาพของร่างกายยังต้องใช้พลังงานเป็นปกติหรือบางครั้งอาจมากกว่าปกติด้วยซ้ำไป เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะหรือระบบของร่างกายขณะนั้น


อาหารที่รับประทานทุกวัน ได้รับสารอาหารครบเช่นเดียวกับ อาหารทางการแพทย์หรือไม่ และ ทุกคนสามารถเตรียมอาหารทางการแพทย์เองได้หรือไม่ อาหารที่เรารับประทานทุกวัน ไม่ว่าจะเพื่อความพึงพอใจในการได้รับรสชาติ กลิ่นเนื้อสัมผัส หรือจากการเคี้ยวนั้น จะมีองค์ประกอบของสารอาหารจำพวก  แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน และ เกลือแร่ แตกต่างกันไปแล้วแต่ประเภทของอาหาร ซึ่งจะสามารถประมาณการณ์ได้ว่าเราได้รับอาหารจากธรรมชาติที่มีสารอาหารเหล่านั้นแตกต่างกันในแต่ละมื้ออาหาร และเป็นที่แน่นอนว่าการกระจายตัวของสารอาหาร อาจไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมต่อสมดุลการใช้พลังงานเพื่อการดำรงชีวิต เช่นบางครั้งก็จะได้รับไขมันมาก/น้อย เกินไป หรือ แป้งมาก/น้อย เกินไป หรือ โปรตีนมาก/น้อยเกินไป สำหรับอาหารทางการแพทย์ จะประกอบด้วยสารอาหารจำพวก แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ครบถ้วนและสัดส่วนของสารอาหารทั้งหลายในอาหารทางการแพทย์แต่ละชนิดนั้นจะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความจำเป็นต่อการใช้พลังงานในภาวะของร่างกายของผู้ป่วยนั้นๆ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงต้องมีการคัดสรรชนิดของแป้งที่ใช้ หรือผู้ป่วยโรคไตที่จำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยจะได้รับในแต่ละวัน  รวมทั้งโซเดียมและเกลือแร่อื่น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้องได้รับอาหารที่มีพลังงานเพียงพอ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตหรือฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยได้ทุกคนสามารถเตรียมอาหารทางการแพทย์ได้ด้วยตัวเองหรือไม่


ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นๆได้ แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ แพทย์ หรือพยาบาล เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญสามารถจะกำหนดได้ว่าผู้ป่วยควรได้รับพลังงานและสารอาหารในปริมาณเท่าใดและในอาหารธรรมชาตินั้นจะมีสารอาหารอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง  ทำให้เมื่อคำนวณแล้วจะได้เมนูอาหารที่ทำให้อาหารที่เตรียมนั้นมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของผู้ป่วยนั้นๆ ที่สำคัญการจัดเตรียมอาหารจากธรรมชาติตามสูตรที่ได้จากการแนะนำ ญาติผู้ป่วยจะต้องคำนึงถึงสุขลักษณะในทุกขั้นตอน ตั้งแต่วิธีการเตรียม วิธีการผสม วิธีการทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ก่อน ระหว่างและหลังการประกอบอาหาร รวมถึงการเก็บรักษา เพื่อให้อาหารที่เตรียมนั้นมีคุณภาพเช่นเดียวกับอาหารทางการแพทย์ในท้องตลาด

ข้อควรคำนึง การเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยโดยใช้อาหารปกติจากธรรมชาตินั้น อาจมีข้อยุ่งยาก บางประการในการเตรียม ในการให้กับผู้ป่วย / ผู้พักฟื้น เนื่องจากอาหารที่ได้จะมีความหนืด ความข้น ทำให้การให้กับผู้ป่วยเป็นไปได้ยากมากขึ้นและ อายุการเก็บก็ไม่นาน

ข้อแนะนำ ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรปรึกษาผู้รู้เรื่องส่วนประกอบที่อาจนำมาใช้ในการผสมอาหาร เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาอาหารจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแป้ง เนื้อสัตว์ ให้เป็นส่วนประกอบที่ใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น มอลโตเด็กซ์ตริน (จากแป้ง) โปรตีนจากนม ถั่ว หรือ ไก่ (ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์) ทำให้ลดปัญหาความหนืดความข้น ของอาหารที่เตรียม ใช้งานได้ง่ายขึ้น และ สามารถควบคุมปริมาณตามคำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วย / ผู้พักฟื้น ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...