Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

How to Integrated Food Safety System

โดย คุณ สุภัค ภักดีโต ที่ปรึกษาระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร

                     ระยะหลังนี้ได้มีโอกาสพบกับโรงงานอาหารที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะทางกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องการให้โรงงานมีมาตรฐานที่สูงขึ้น  เช่นหากส่งออกสินค้าอาหารไปยังกลุ่มยุโรปต้องปฏิบัติตาม BRC Global Standard for Food Safety (Issue 8)  หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า เช่น FSSC 22000 (Food Safety System Certification)  IFS (International Food Standard)  หรือ หากส่งออกไปสหรัฐอเมริกาต้องปฏิบัติตาม Food Safety Modernization Act – Preventive Control for Human Food (PCHF)   หรือหากส่งไปประเทศที่ไม่ได้กำหนดมาตรฐานเฉพาะ สามารถใช้มาตรฐาน ISO 22000: 2018  ได้


ปัญหาคือเมื่อต้องมีหลายระบบ เอกสารที่ต้องจัดทำแต่ละระบบก็มีปริมาณมาก เราจะทำอย่างไร เพื่อให้สะดวกกับการทำงานและทำได้สอดคล้องกับทุกระบบที่เกี่ยวข้อง  คำตอบคือใช้วิธี Integrated System (การบูรณาการระบบ)  ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการบูรณาการ 3 ระบบ คือ BRC  PCHF และ ISO 22000  โดยวิธีการ ดังนี้


  1. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแต่ละระบบ ให้กับทีมงาน (อาจเรียก Food Safety Team หรือ HACCP Team) ซึ่งทีมงานควรอบรมตามลำดับ ดังนี้
  • GMP และการจัดทำเอกสาร
  • HACCP
  • ISO 22000
  • PCHF
  • BRC
  1. ทำการวิเคราะห์ส่วนที่ระบบมีความเหมือนกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด (Gap Analysis) ในส่วนที่สำคัญ ซึ่งขอแบ่งเป็น 4 ส่วนย่อย ดังนี้

ส่วนที่ 1) Prerequisite Programmes โดยเริ่มทบทวนจากระบบ GMP (CODEX) ที่องค์กรมีอยู่เดิม เมื่อต้องทำให้สอดคล้องกับอีก 3 ระบบนี้ สามารถไปดูเทียบในข้อกำหนด BRC Issue 8 (ข้อ 4-9) PCHF (21CFR Part 110) และ ISO 22000: 2018 (ข้อ 8.2)
ส่วนที่ 2) HACCP ซึ่งทั้ง 3 มาตรฐาน ยึดตาม CODEX แต่จะมีรายละเอียดย่อยที่เพิ่มเติม เช่น PCHF กำหนดให้ PCQI (Preventive Control Qualified Individual) เป็นผู้ทวนสอบระบบ HACCP เป็นต้น
ส่วนที่ 3) Quality Management System ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ BRC และ ISO 22000 เท่านั้น มีเนื้อหาหลักเป็นไปตามแนวทางของ ISO 9001: 2015 กล่าวคือมีเนื้อหาในส่วนความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เช่น การกำหนดนโยบาย การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดสรรทรัพยากร เป็นต้น ในส่วนความรับผิดชอบของบุคลการ เช่น การควบคุมเอกสารและบันทึก การตรวจติดตามภายใน ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมใน BRC Issue 8 (ข้อ 1 และ 3) และ ISO22000: 2018 ข้อ 4,5,6,7,9 และ 10)
ในที่นี้ขอเปรียบให้เห็นเป็นตัวอย่าง ดังนี้

ส่วนที่ 4) Additional Requirement คือข้อกำหนดที่ไม่เข้าพวกใน 3 กลุ่มแรก ของแต่ละมาตรฐานค่ะ

  1. หลังจากที่ฝ่ายที่รับผิดชอบ ดำเนินการระบุรายละเอียดของแต่ละเรื่องลงไป จะพบว่ามีงานหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนงานให้ครอบคลุมตามที่ข้อกำหนดระบุ พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาแล้วเสร็จ รายะเอียดดังตัวอย่าง

 

เมื่อเรารู้ขั้นตอนหลักๆ ว่ามีอะไรบ้างแล้ว ที่เหลือก็คือลงมือทำ  ถามว่าแล้วเราจะเริ่มได้อย่างไร ท่านสามารถเริ่มลงมือขั้นตอนแรกจากการศึกษาข้อกำหนดด้วยตัวเอง หรือ หาผู้เชี่ยวชาญมาสร้างความรู้ความเข้าใจ  สำหรับการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่ต้องมาบูรณาการกันนั้น  แต่ละองค์กรจะใช้เวลาในการอบรมไม่เท่ากัน ขึ้นกับความรู้เดิมที่มี และจำนวนของระบบที่ต้องการบูรณาการค่ะ

และเมื่อจัดทำระบบแบบบูรณาการพร้อมแล้ว ก็สามารถติดต่อขอการรับรองจากหน่วยรับรอง (Certification Body : CB) แบบบูรณาการได้เช่นเดียวกัน  โดยสามารถแจ้งความจำนงได้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มติดต่อกับผู้แทนขายของ CB  เช่นต้องการตรวจ BRC  ร่วมกับ  PCHF  เป็นต้น

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...