Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

นวัตกรรมอาหาร

โดย ดร.เพ็ญศิริ  แก้วทอง และ ดร. สุพัตรา กาญจนประทุม

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง



 มีบทความมากมายให้ความหมาย “นวัตกรรม (innovation)” ว่า “ทำสิ่งใหม่ขึ้น” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำในภาษาลาติน คำว่า Innovare ซึ่งนวัตกรรมจะมีความหมายที่แตกต่างจาก “ประดิษฐกรรม (Invention)” คือ การทำให้ความคิดใหม่เป็นจริงขึ้นมาและสามารถจับต้องได้ แต่นวัตกรรมต้องมีการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมจากความคิดใหม่นั้นด้วย นอกจากนี้คำว่านวัตกรรมมีนักวิจัยหลายท่านได้ให้คำนิยามที่กว้างขึ้น นอกจากหมายถึงการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่แล้ว ยังสามารถกล่าวรวมถึงการให้บริการใหม่ แนวทางในการนำเสนอเทคโนโลยีหรือบริการใหม่ และการปรับปรุงกระบวนการการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการแบ่งนวัตกรรมออกได้เป็นนวัตกรรมทางด้านสินค้า (Product Innovation) กระบวนการผลิต (Process Innovation) และนวัตกรรมทางด้านบริการ (Service Innovation)


 ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับต้นๆ ของโลก อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารจึงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และจากความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยโมเดลไทยแลนด์ 4.0  “นวัตกรรมอาหาร” จึงมีความสำคัญยิ่งในการเปลี่ยนจากการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป สู่การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเชิงนวัตกรรม หรือกล่าวได้ว่ามุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้านั้นเอง โดยในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วคนในประเทศใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ และที่สำคัญประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) ดังนั้นทิศทางของนวัตกรรมอาหารจึงเน้นทางด้านอาหารฟังก์ชัน อาหารเพื่อสุขภาพ การใช้สารปรุงแต่งอาหารหรือสารสกัดทางโภชนาการเพื่อผลิตอาหารคุณภาพสูง รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์อาหาร การตรวจสอบย้อนกลับ ความปลอดภัยอาหาร และเทคโนโลยีการเก็บรักษาและการขนส่งอาหาร

การสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วน รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมอาหาร จึงได้จัดตั้ง “เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis” เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมอาหารโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยมีมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์และคณะนักวิจัยทางด้านเกษตรและอาหารทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค กระตุ้นให้เกิดธุรกิจใหม่และปรับปรุงวิสาหกิจเดิม ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการใหม่กับอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ลักษณะเช่นนี้เอื้อให้อุตสาหกรรมอาหารมีช่องทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางด้านอาหารมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้งานแสดงเทคโนโลยีส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่ม โดย ฟู้ด อินกรีเดียนท์ เอเชีย เผย 10 เทรนด์รักษ์โลก-รักษ์สุขภาพมาแรง ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปี 2019 (https://www.brandbuffet.in.th/2018/11/ubm-food-ingredients-asia/) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นแนวทางที่ดีเยี่ยมในการสร้างนวัตกรรมอาหารของไทย ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดอุตสาหกรรมอาหารปัจจุบันและอนาคตได้


 นอกจากการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยการสร้างนวัตกรรมอาหารแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กันคือการสร้างและพัฒนา “นักนวัตกรรมอาหาร” นักวิชาการหลายคน เชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เป็นรากฐานที่สำคัญประการหนึ่งของขบวนการจัดการนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการมุ่งให้ความสำคัญเรื่องการเพิ่มศักยภาพในด้านความคิดให้กับมนุษย์ ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ ดังนั้นในยุคปัจจุบันมหาวิทยาลัยจึงมีการปรับตัวในการผลิตบัณฑิตหรือการสร้างคนสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยสร้างคนเพื่อตอบสนอง 2 ทาง คือ ผลิตคนที่มีความรู้ในวิชาชีพตรงตามความต้องการตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นคนที่ทำหน้าที่หลักเป็นหัวใจที่ทิ้งไม่ได้ และผลิตคนเพื่อพรุ่งนี้  โดยสร้าง “แนวคิดของผู้ประกอบการ” ให้บัณฑิตทุกคน โดยเน้นเรื่องการเพิ่มศักยภาพในด้านความคิดให้กับนักศึกษาและผลักดันการต่อยอดทางด้านความคิดเพื่อให้เกิดนวัตกรรม เช่น การมีรายวิชาสหกิจศึกษา หรือ Cooperative Education (Coop) ซึ่งเป็นระบบที่มีการผสมผสานระหว่างการเรียนการสอนในสถานศึกษากับการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการเสมือนเป็นพนักงานคนหนึ่ง การสอนแบบนี้จึงเป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้เสริมการผลิตบัณฑิตเพื่อให้พร้อมทำงานทันทีที่สำเร็จการศึกษา ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างคนในยุคที่เศรษฐกิจของประเทศต้องขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก นวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์ (วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559), การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี (www.seb.cm.mahidol.ac.th), สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (www.warning.acfs.go.th), กรมกิจการผู้สูงอายุ (www.dop.go.th), หน่วยสหกิจศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (www.edu.fms.psu.ac.th), ยูบีเอ็ม เปิดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม 2019 ชี้เทรนด์รักษ์โลก-รักษ์สุขภาพมาแรง (www.brandbuffet.in.th)

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...