Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

Exclusive Talk : สแตนเลสที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร Part 1

สแตนเลสที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
คุณวรปัญญา สุธานุภาพวุฒิ
Committee – EHEDG Thailand Regional Section
ผู้สัมภาษณ์ : ก่อนอื่นขอสวัสดี คุณวรปัญญานะคะ วันนี้ก็อยากจะขอคำแนะนำหรือข้อมูลจากคุณวรปัญญาในเรื่องของสแตนเลสที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารว่ามีประเภทไหนบ้าง เหมาะกับอุตสาหกรรมอาหารแต่ละชนิดอย่างไร
คุณวรปัญญา : ครับก็ตามหลักการแล้ว สแตนเลสแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติและเหมาะกับตัวโจทย์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงต้องดูว่าโจทย์ของเราคืออะไร สินค้าของเราเป็นอะไร คือมันเป็นเรื่องคุณสมบัติการทนการกัดกร่อนต่อสารเคมีของอาหาร ซึ่งแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นมันจึงไม่มีคำว่าใช้ของที่ถูกกว่า มีแต่การใช้ของให้เหมาะสม แต่ก็มีผู้ประกอบการบางส่วนที่อาจจะใช้ของที่ทนทานมากเกินไป สแตนเลสจะแบ่งเกรดทั่วไปคือ
  • เกรด 304 ซึ่งเป็นสแตนเลสที่เหมาะสำหรับของที่ไม่เป็นกรดและไม่มีคลอไรด์สูง โดยทั่วๆ แล้วไปจะใช้เกรดนี้ประมาณ 70%
  • เกรด 316 ซึ่งเป็นสแตนเลสที่เหมาะสำหรับของที่มีกรด มีคลอไรด์ระดับหนึ่ง มีผู้ใช้เกรดนี้อยู่ประมาณ 20 %
แต่ถ้าเกิดว่าไปเจอในกรณีที่ว่ามีความเค็มมากหรือว่า High Salt อย่างเช่นน้ำปลาหรือ ซีอิ๊ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เกรด 316 จะทนไม่ได้ ทำให้ต้องใช้ไปถึงระดับพวกไทเทเนียมหรือว่า 904 ซึ่งเป็นไทอัลลอย ถ้าเกิดว่าโครงการนั้นมีความร้อนก็หนีไม่พ้นที่ต้องใช้ 904 ถึงจะถูกต้อง
ความจริงแล้วลูกค้าหรือผู้ประกอบการหลายๆ คนไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก ทำให้เกิดการใช้ที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ฉะนั้นถ้าใช้ไปแล้วสแตนเลสมันบาง มันสึกกร่อนหรือสึกหรอ แสดงว่ามันผิดและมันไม่เหมาะสมมาตั้งแต่แรกแล้ว ฉะนั้นถ้าสแตนเลสถูกต้องมันไม่มีอายุนะครับ ถ้าถูกต้องกับสินค้าตัวนั้น อย่างเช่นถ้าบอกว่าทนเกลือระดับนี้ เปอร์เซ็นต์เท่านี้ อุณหภูมิเท่านี้ มันไม่มีคำว่าเสียหาย
ปัญหาที่เจอส่วนใหญ่คือการมีองค์ความรู้ไม่ถูกต้องหรือหรือพยายามที่จะเน้นต้นทุนก่อน ซึ่งหากนำสแตนเลสที่เกรดไม่ถึง ใช้ไปงานไม่กี่ครั้งเกิดการสึก บางลงหรือรั่ว ซึ่งจัดเป็นเรื่องที่อันตรายมาก สแตนเลสที่บางลงไปมันไปไหนก็อยู่ในผลิตภัณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมาก
ผู้สัมภาษณ์ : เกรด 304 และ 316 ที่นิยมใช้กันนั้น ความแตกต่างของโครงสร้างและส่วนประกอบของทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นยังไงคะ
คุณวรปัญญา : สิ่งที่ต่างกันระหว่างเกรด 304 กับ 316 คือตรงที่เกรด 316 จะมีการเติมโมลิปดินั่มเพิ่มขึ้นมา 2-3 % ก็ทำให้คุณสมบัติทนทานเคมีดีขึ้นระดับหนึ่ง ความแข็งแรงของทั้ง 2 เกรดจะพอๆ กันไม่แตกต่างกัน วิธีการเชื่อมประกอบไม่แตกต่างกันเหมือนกันเลยนะ แต่ถ้าถามว่าทนเคมีตัวไหนบ้าง ต้องไปเปิดฉากเรื่องของการทนต่อสารเคมี (Corrosion) เป็นตัวๆ ไป สารบางอย่างเกรด 316 ทนไม่ได้ เกรด 304 จะทนได้ดีกว่า แต่ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเกรด 316 จะดีกว่าเกรด 304 ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากการเติมเพียงนิดเดียวทำให้มันไม่ได้ดีกว่ากันมากมายมหาศาล ดังนั้นแล้วความเข้าใจที่ว่าอะไรที่มี high corrosion อะไรที่มันกัดกร่อน มีกรดเยอะๆ ให้ใช้เกรด 316 อันนี้ถือเป็นความเข้าใจที่ผิด
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วช่องทางในการตรวจสอบหรือหาข้อมูลรื่องของ High corrosion มีทางไหนบ้างคะ
คุณวรปัญญา : อันนี้แนะนำให้เข้าไปดูที่เว็บไซต์ www.outokumpu.com ซึ่งเป็นผู้ผลิตสแตนแลสรายใหญ่ของโลก ในเว็บไซต์เขาจะมีเรื่องของ Corrosion Table อยู่ เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลที่เขาสะสมไว้ได้ อย่างเช่นถ้าเราอยากรู้ว่าเราจะใช้กับกรดไนตริก 60% อุณหภูมิ 50 องศา เราไปเปิดดูมันก็จะมีโชว์ให้เห็น สแตนเลสไหนบ้างที่ทนได้หรือทนไม่ได้ ถ้าทนได้เขาก็จะบอกอัตราการสึกหรอ ว่าจะสึกกี่มิลลิเมตรต่อปี อะไรที่สึกน้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตรต่อปี แปลว่าใช้ได้ แต่เขาจะเขียนเป็นภาษากฎหมายเขาจะไม่บอกว่าไม่สึกกร่อนนะ แต่จะบอกว่าน้อยกว่า 0.1 ถ้าตัวไหนบอกว่า 2 มิลลิเมตรต่อปี ก็แสดงว่าอันตรายมันจะเกิดการบางลงเรื่อยๆ
ผู้สัมภาษณ์ : ในเรื่องของราคานั้น เกรด304 และ 316 มีความแตกต่างกันมากไหมคะ
คุณวรปัญญา : ถ้าเทียบกันที่วัตถุดิบเลยถ้าเราซื้อวัตถุดิบเข้ามาเป็นแผ่นสแตนเลสเข้ามา เกรด 316 วันนี้จะแพงกว่า เกรด 304 ประมาณ 50% ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุดิบ แต่ว่าขั้นตอนการผลิตไม่ว่าจะผลิตเป็นท่อ เป็นถังเป็นวาล์ว ขั้นตอนหรือค่าแรงก็จะเท่ากัน ค่าเครื่องจักรก็เท่ากัน ต่างกันแค่อย่างเดียวคือเรื่องของวัตถุดิบ
ผู้สัมภาษณ์ : แสดงว่าผู้ประกอบการก็สามารถเลือกที่จะประหยัดได้ ถ้าเกิดว่าอาหารของเขาไม่จำเป็นต้องใช้เกรด 316 ใช่ไหมคะ
คุณวรปัญญา : ได้ครับ หรือจะยกตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น บางที่จะมีความเชื่อว่าในระบบท่อ CIP ก็จะโดนน้ำ โดนด่าง โดนกรดทุกวัน ซึ่งทำให้จะใช้แต่ 316 ตลอดเลยในไลน์ท่อ CIP ที่นี้พอเราถามว่าแนวคิดในการเลือกใช้คืออะไร เขาบอกว่าวางแผนที่จะใช้ถึง 50 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้า 50 ปีไปเทียบกับการสึก หนึ่งคือมันไม่ได้สึก และสองคือในความเป็นจริงคือโรงงานอยู่ได้ 10 ปีก็มักจะโดนขยายแล้ว มันก็จะไม่ได้ใช้ไปจนถึง 50 ปีขนานนั้น
ผู้สัมภาษณ์ : แล้วความเชื่อที่ว่าสแตนเลสจะไม่เป็นสนิมถือว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องไหมคะ
คุณวรปัญญา :
ก่อนอื่นต้องเคลียก่อนว่า สแตนเลส ต้องขึ้นสนิม แต่สนิมของเขาคือโครเมี่ยมออกไซด์ฟิล์มซึ่งป้องกันตัวเขาเอง ไม่มีสี มันคือโครเมี่ยมออกไซด์ฟิล์มที่ป้องกันการกัดกร่อน อันนี้คือธรรมชาติของเขา แต่สนิมที่คนส่วนใหญ่เข้าใจหรือเข้าใจผิดนั่นคือ สนิมที่เขาเห็นมันมากจาก 2 ส่วน ส่วนแรกคือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาอย่างเช่น เป็นเหล็กที่มาฝังบนเนื้อแล้วส่วนที่เป็นเหล็กขึ้นสนิมไม่ใช่สแตนเลสขึ้นสนิม กับส่วนที่สอง คือ การกัดกร่อนที่สแตนเลสเกรดนั้นทนไม่ได้
ทีนี้ความเข้าใจของคนเราเข้าใจผิดเยอะนะ ถ้าหากว่าเขามองว่าในจุดที่ไปใช้งานมีเรื่องการกัดกร่อน อย่างเช่น มีกรดด่างที่มาเลอะ หรือเป็นการใช้งานที่ไม่ได้ดูแลให้ดีพอ ไม่ได้ล้างให้สะอาดปล่อยนานๆ ไปมันเกิดความเข้มข้นมากขึ้น จนมันเกิดจุดที่ 316 ทนไม่ได้ มันก็จะกัดกร่อนเช่นกัน อันนี้เป็นเรื่องความเข้าใจของผู้ใช้งาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ไปวิเคราะห์ที่ต้นเหตุของปัญหา พอไปเห็นอาการของปัญหาเลยหาวิธีป้องกัน แต่ถ้าเราไปวิเคราะห์ที่ต้นเหตุของปัญหา คุณไปจัดการไม่ให้มันเกิดปัญหาก็เป็นการแก้ปัญหาทุกจุดก่อนนะ ทำให้บางทีเราอาจจะไม่ต้องใช้ของแพงขนาดนั้นก็ได้
ตอนต่อไปเราจะมาพูดคุยกันเรื่องปัญหาเกี่ยวกับสแตนเลสที่มักจะพบเจอ วิธีสังเกตเกรดของสแตนเลสเเต่ละชนิด ตลอดจนวิธีการเก็บรักษาและดูเเลที่ดี โปรดติดตาม

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...