ผู้สัมภาษณ์ : | มีคำแนะนำอะไรที่จะให้ผู้ประกอบการเขาดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้สแตนเลสให้สามารถอยู่ได้ยาวนานโดยที่ยังคงความปลอดภัยอยู่บ้างคะ |
คุณวรปัญญา : | ก็เรื่องหลักเลยก็เป็นเรื่องความมีวินัยในการใช้งานกับวัสดุที่เป็นสแตนเลสสตีลนะครับ ถ้าผู้ประกอบการมีความเข้าใจว่า ต้องดูแล ต้องเก็บรักษาอย่างไร ทุกอย่างก็จะใช้ได้ยาวนานและไม่เปลืองงบประมาณ สิ่งที่สำคัญที่สุดจึงเป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจ |
ผู้สัมภาษณ์ : | มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับวัสดุสแตนเลสที่อยากแชร์ให้คนอื่นได้ทราบไหมคะ |
คุณวรปัญญา : |
ตอนนี้หลักๆที่พบเจอ ก็จะเป็น
|
ผู้สัมภาษณ์ : | แล้วการเก็บรักษาที่ดีนั้น หมายถึงอย่างไรบ้าง |
คุณวรปัญญา : |
ในเรื่องการเก็บรักษามันจะอยู่ที่ผู้ที่ผลิตเครื่องจักรหรือฝ่ายซ่อมบำรุง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อท่อมาท่อนหนึ่งยาว 6 เมตร ดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องมีในส่วนของ Transfer mark คือว่าต้องมีการระบุว่า ท่อหมายเลขนี้ ทนความร้อนได้เท่านี้ เกรดนี้ ขนาดนี้ ทำให้เวลาที่ใครมาหยิบใช้ก็จะรู้ว่าที่มาของมันคืออะไร ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการมันก็จะคล้ายกับเรื่อง ISO กับเรื่องระบบทั้งหลาย
ถัดมาจะเป็นเรื่องของวินัยในการทำงานระหว่าง สแตนเลส คน เครื่องมือ การเก็บรักษา พอเราเข้าใจในเรื่องพื้นฐานของสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาในสแตนเลสแล้วการป้องกันเขาก็จะเข้าใจดี
|
ผู้สัมภาษณ์ : | กรณีที่ท้องตลาดมีการเจอสแตนเลสปลอม ที่จะมี 201 หรือ 210 อะไรพวกนี้ ตรงนี้ก็อยากจะขอความชัดเจนจากคุณวรปัญญาหน่อยค่ะ แล้วผู้ประกอบการควรทำตัวอย่างไร |
คุณวรปัญญา : | ถ้าเทียบกันที่วัตถุดิบเลยถ้าเราซื้อวัตถุดิบเข้ามาเป็นแผ่นสแตนเลสเข้ามา เกรด 316 วันนี้จะแพงกว่า เกรด 304 ประมาณ 50% ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุดิบ แต่ว่าขั้นตอนการผลิตไม่ว่าจะผลิตเป็นท่อ เป็นถังเป็นวาล์ว ขั้นตอนหรือค่าแรงก็จะเท่ากัน ค่าเครื่องจักรก็เท่ากัน ต่างกันแค่อย่างเดียวคือเรื่องของวัตถุดิบ |
ผู้สัมภาษณ์ : | แสดงว่าผู้ประกอบการก็สามารถเลือกที่จะประหยัดได้ ถ้าเกิดว่าอาหารของเขาไม่จำเป็นต้องใช้เกรด 316 ใช่ไหมคะ |
คุณวรปัญญา : | ความจริงมันเกิดมากว่า 10 กว่าปีแล้ว อันที่จริงแล้วสแตนเลสไม่มีปลอม เพราะสแตนเลสที่ผลิตและนำเข้ามาขายหรือที่ผลิตในไทย ทุกคนผลิตที่โรงงานซึ่งก็ผลิตตามเกรดของเขาอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ปลอมก็คือว่า ผู้ขายหรือคนที่ขายวัสดุให้กับผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอาหาร หรือเป็นผู้ผลิตเครื่องจักร ถ้าผู้ขายมีการไปปลอมปนว่าจากเกรด 201 บอกว่าเป็น 304 ซึ่งเขาอาจจะเข้าใจว่าใช้ในจุดที่ไม่ซีเรียส แล้วคนใช้งานก็ไม่ได้ตรวจสอบหรือไม่ได้เข้าใจจุดนี้ พอนำไปงานใช้งานก็เลยเกิดปัญหาขึ้นมา ตรงนี้เป็นเรื่องของของระบบ Supply ที่ว่ามีผู้ขายที่เห็นช่องทางตรงนี้นะ เข้าใจว่าพวกเขาบางรายก็อาจจะไม่เข้าใจ แล้วก็บางรายส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจแต่ตั้งใจที่จะปลอม หรืออาจจะสื่อสารกันไม่ดี อย่างเช่น ฝ่ายจัดซื้อบางบริษัทอาจจะมองว่าราคาถูก แล้วคนขายก็อาจจะแนะนำว่าเป็นสแตนเลสเหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้เข้าใจเรื่องเกรดของแต่ละชนิด ก็เลยเข้าใจว่าซื้อสแตนเลสธรรมดาทั่วๆไป |
ผู้สัมภาษณ์ : | แบบนี้พอจะมีอะไรยืนยันได้ไหม ว่าสแตนเลสที่ซื้อมาว่าเป็นสแตนเลสเกรดไหน |
คุณวรปัญญา : |
โดยมาตรฐานเนี่ยผู้ผลิต เขาจะมี Mill certificate ซึ่งก็จะโชว์ Heat Number ตัวรหัสนี้ก็จะถูกทำเครื่องหมายอยู่ บนอุปกรณ์ที่เขาผลิตออกมา แล้วก็ใบรังรองตัวนี้จะอยู่ที่ผู้ขายหรือ supplier นะ ดังนั้นขั้นต้นถ้าแบบถูกต้องเมื่อเราซื้อวัสดุมาแล้วขอ Mill certificate ด้วยนะครับ
คนรับ Mill certificate ก็คือเราก็ดูว่ามีโชว์ Heat Number ตรงกับของที่เราเอาเข้ามา อันนี้คือเป็นระบบทั่วๆ ไปที่จะดูได้นะครับ
|
ผู้สัมภาษณ์ : | แบบนี้เราทำยังไงคะสามารถตรวจสอบอะไรได้บ้าง |
คุณวรปัญญา : |
เขาจะมีตัวตรวจสอบเป็นตัวเขาเรียกว่า PMI (positive material identification) มันจะเป็นเครื่องมือที่มี 2 แบบ
|
ผู้สัมภาษณ์ : | อันนี้มีหน่วยงานที่เขารับตรวจบ้างคะ |
คุณวรปัญญา : |
มีครับ อย่างเช่นลองติดต่อ ศิวะเทสติ่งเขาก็มีนะ เขาจะบริการเป็นวัน ว่าวันหนึ่งมาเราจะยิงกี่ sampling ก็ว่ากันไป อันนี้คือการทดสอบแบบไม่ทำลายแล้ว ในอดีตเราต้องตัดชิ้นงานประมาณ 2 นิ้วคูณ 2 นิ้วแล้วก็ส่งเข้า ห้องทดลองที่มีเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ซึ่งในอดีตมีน้อยมากจะอยู่ตามมหาลัยแล้วก็สถาบันพัสดุ
ย้อนกลับไปเมื่อกี้นะครับว่าถ้าเจอผู้ประกอบการหรือ supplier ที่ขายของแล้วทำไม่ถูกต้องเรื่องที่ทำได้คือ การเลิกซื้อ ถ้าผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์เช่นนั้นเราคงไว้ใจไม่ได้นะครับ ถ้าระบบของ supplier ไว้ใจไม่ได้ ก็จะทำให้เราก็ต้องไปตรวจทุกครั้งมันเป็นต้นทุนแล้วก็เวลาที่เยอะเสียเวลาพอสมควรนะครับ
|
ผู้สัมภาษณ์ : | ขอบคุณ คุณวรปัญญามากค่ะ |