Food Science and Technology Association of Thailand

  • Home
    • About Us
    • Committee
    • FoSTAT Annual Report
    • รูปภาพกิจกรรมของสมาคมฯ
  • Activities
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
      • FoSTAT Recognition Award
      • Professional Development Award
    • Food Science and Technology professional standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)
    • Food Innovation & Regulation Network (FIRN)
    • Corporate Social Responsibility (CSR)
  • Training
    • Public Training
    • Food Safety Forum
    • FoSTAT-FDA Training
    • In-house Training
  • Consultation
    • Food Safety Consultation
    • Thai FDA License
  • News & Articles
  • Membership
    • Member drive
    • Career Center
  • Contact Us

ข้อดี…ข้อเสียของคอเลสเตอรอล

โดย คุณ ช่อลัดดา เที่ยงพุก
สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คอเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นสารกลุ่มสเตอรอลที่เป็นอนุพันธ์ไขมัน แต่ไม่ใช่ไขมัน เป็นสารที่พบในเซลล์สัตว์ คอเลสเตอรอลจำเป็นต่อชีวิตคือร่างกายไม่สามารถขาดคอเลสเตอรอลได้ ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลสร้างผนังเซลล์ เยื่อสมอง ตัวอ่อนในครรภ์ สังเคราะห์น้ำดี สังเคราะห์วิตามินดี และเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตฮอร์โมนประเภทสเตอรอยด์ (steroid) เช่น ฮอร์โมนเพศ และอื่นๆ ร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลจาก 2 แหล่งคือ แหล่งแรกมาจากการสังเคราะห์ขึ้นเองในร่างกายที่ตับและลําไส้ โดยตับสังเคราะห์ประมาณร้อยละ 15 และลำไส้สังเคราะห์ประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณที่ร่างกายสังเคราะห์ได้ในแต่ละวัน และแหล่งที่สองได้รับจากอาหาร เฉพาะที่มาจากสัตว์ เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ และสัตว์น้ำทะเลที่มีกระดอง เป็นต้น ตามปกติผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีจะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลเฉลี่ยวันละ 1 กรัม และใช้วันละ 0.3 กรัม ร่างกายจะควบคุมให้มีคอเลสเตอรอล 150-200 มก./เดซิลิตร ค่า LDL น้อยกว่า 160 มก./เดซิลิตร ค่า HDL มากกว่า 40 มก./เดซิลิตร โดยควบคุมกระบวนการสังเคราะห์ในร่างกาย หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารมาก ร่างกายก็จะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลน้อยลง
คอเลสเตอรอลจะขนส่งโดยไลโปโปรตีน (lipoprotein) ซึ่งมี 2 กลุ่มคือ LDL (Low density lipoprotein) จะขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ และ HDL (High density lipoprotein) จะขนส่งคอแเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อไปกำจัดที่ตับ ตับจะใช้คอเลสเตอรอลสร้างน้ำดี ส่วนที่เหลือจะถูกขับทิ้งทางอุจจาระ การเรียกคอเลสเตอรอลจึงมักเรียกตามกลุ่มของไลโปโปรตีน กรณีที่ร่างกายมี LDL-cholesterol ในหลอดเลือดสูง แต่ HDL-cholesterol ต่ำ และเนื่องจาก LDL-cholesterol สามารถจับกับเซลล์ของกล้ามเนื้อหลอดเลือดแดงได้ ทำให้เกิดการสะสมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมาก เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ยาก ในกรณีที่หลอดเลือดนั้นส่งเลือดมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หากเป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ก็อาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน
อย่างไรก็ตามการศึกษาทางการแพทย์ในระยะ 10 ปีหลัง ให้ผลขัดแย้งกัน มีรายงานว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวไม่สัมพันธ์กับการมีคอเลสเตอรอลสูง และมูลนิธิโรคหัวใจอังกฤษ ยอมรับว่าคำแนะนำที่ให้ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายนั้น ไม่ได้มาจากงานวิจัยที่สมบูรณ์
คอเลสเตอรอลจัดเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ในการดำรงชีวิตควรยึดหลักสายกลาง คือมีปริมาณคอเลสเตอรอลไม่มากหรือน้อยไป ไม่ควรทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ ควรออกกำลังกาย และรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอ
บรรณานุกรม
  • ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ อรนุช สมสีมี และ ชัยสิทธิ์ สิทธิเวช กลไกการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดโดยสเตียรอลและสตานอลเอสเทอร์จากพืช Burapha Sci. J. 18 (2013) 1 : 202-209
  • สถาพร งามอุโฆษ 2558. กลไกของใยอาหารในการลดระดับโคเลสเตอรอล วารสารเทคนิคการแพทย์ 43 ( 2): 5203-5212
  • คอเลสเตอรอล http://gg.gg/lttiz (วันที่สืบค้น 25 สิงหาคม 2563)
  • สำนักโภชนาการ กรมอนามัย คอเลสเตอรอล และกรดไขมันในอาหารไทย http://gg.gg/m9ff0 (วันที่สืบค้น 21 กันยายน 2563)

PR NEWS


  • บริการเรียนย้อนหลังออนไลน์ November 05, 2024

  • ประเภทของเอกสารในระบบมาตรฐาน GHPs / HACCP July 30, 2024

  • พัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วยหลัก PDCA July 30, 2024

  • 5 เคล็ดลับเลือก Pest Control Operator (PCO) ให้ปัง May 17, 2024

  • รู้จักกับ Integrated Pest Management (IPM) Program ตัวช่วยยกรับการจัดการแมลงในโรงงานอาหาร May 16, 2024

  • SITEMAP

  • Program
    • Award
      • Ajinomoto – FoSTAT Award
    • Food Science and Technology Professional Standard
      • Certified Food Professional (CFoP)
      • มาตรฐานและคุณวุฒิวิชาชีพ
    • Conference and workshop
      • Food Innovation Asia Conference
      • Food Ingredients Asia Conference
    • Curriculum and scholarship
      • Curriculum Recognition
      • Agro-Industry Academic Council Association (AIAC)-Industry Academic Council Association (AIAC)Food Ingredients Asia Conference
    • FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl (FNQB)
    • Food Innovation Contest (FIC)


  • Home
    • About Us
    • Committee
    • Gallery
  • Training
  • Communication
  • Membership
    • Membership drive
    • Career Center
  • Contact Us

  • เลขที่ 50 อาคารอมร ภูมิรัตน ชั้น 7 ห้อง 722 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

    02 9428 528 | 08 3902 3362

    pr@fostat.org

    สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT)

Copyright © 2016 FoSTAT. Developed by Sundae Solutions

Please wait...